Jump to content
Sign in to follow this  
Ezero

M1 Abrams

Recommended Posts

M1 Abrams

800px-M1-A1_Abrams_1.jpg

เอ็ม1 เอบรามส์ (อังกฤษ: M1 Abrams) เป็นรถถังประจัญบานรุ่นที่สามของสหรัฐอเมริกา ชื่อของมันมาจากนายพลเครกตัน เอบรามส์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการกองทัพสหรัฐในสงครามเวียดนามตั้งแต่ปีพ.ศ. 2511-2515 มันมีอาวุธที่ดี เกราะขนาดหนัก และคล่องตัวตามที่มันถูกออกแบบมาเพื่อทำสงครามยานเกราะยุคใหม่ จุดเด่นของมันคือเครื่องยนต์เทอร์ไบที่ทรงพลัง การใช้เกราะผสม และการเก็บกระสุนแยกต่างหากจากห้องของลูกเรือ มันเป็นหนึ่งในรถถังที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประจำการ ด้วยน้ำหนักเกือบ 62 ตัน

เอ็ม1 เอบรามส์ได้เข้าประจำการในกองทัพสหรัฐเมื่อปีพ.ศ. 2523 โดยเข้ามาแทนที่เอ็ม60 แพทตันอย่างไรก็ตามมันก็ทำงานร่วมกับเอ็ม60เอรุ่นที่ได้รับการพัฒนามาตลอดทศวรรษ ซึ่งเข้าประการมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2521 รุ่นหลักๆ ของเอ็ม1 มีสามรุ่นด้วยกัน คือ เอ็ม1 เอ็ม1เอ1 และเอ็ม1เอ2 โดยมีการพัฒนาด้านอาวุธ การป้องกัน และระบบไฟฟ้า การพัฒนาเหล่านี้มีเพื่อทำให้มันมีอายุการใช้งานที่นานขึ้น ในปัจจุบันกำลังมีการพัฒนาเอ็ม1เอ3 มันเป็นรถถังประจัญบานหลักของกองทัพบกสหรัฐและเหล่านาวิกโยธินสหรัฐ รวมทั้งกองทัพบกอียิปต์ กองทัพบกคูเวต กองทัพบกซาอุดิอาระเบีย กองทัพบกออสเตรเลีย และกองทัพบกอิรัก เอ็ม1 เอบรามส์จะประจำการจนถึงทศวรรษที่ 2593 ประมาณ 70 ปีหลังจากที่มันเข้าประจำการครั้งแรก

การพัฒนา

ความพยายามครั้งแรกที่จะแทนที่รถถังเอ็ม60 แพทตันคือเอ็มบีที-70 ที่พัฒนาขึ้นด้วยการร่วมมือกับเยอรมนีตะวันตกในทศวรรษที่ 2503 เอ็มบีที-70 นั้นเป็นสิ่งที่ใหม่และมีแนวคิดหลายอย่างซึ่งได้พิสูจน์ว่าไม่ประสบความสำเร็จ ผลต่อมาคือโครงการที่ถูกยกเลิกไป ต่อมาสหรัฐก็เริ่มเอ็กซ์เอ็ม803 ซึ่งไม่ต่างอะไรจากเอ็ม60 มีเพียงแต่ระบบที่แพงขึ้นเท่านั้น

สภาคองเกรสได้ยกเลิกเอ็มบีที-70 ในเดือนพฤศจิกายนและเอ็กซ์เอ็ม803 ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2514 และโอนงบประมาณไปที่เอ็กซ์เอ็ม815 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นเอ็กซ์เอ็ม1 เอบรามส์ตามชื่อนายพลเครกตัน เอบรามส์ ต้นแบบถูกส่งมอบในปีพ.ศ. 2519 โดยไครส์เลอร์ ดีเฟนซ์และเจเนรัล มอเตอร์สโดยติดตั้งอาุวุธเป็นปืนใหญ่โรยัล ออร์ดแนวซ์ แอล7 ขนาด 105 ม.ม.ที่เทียบเท่ากับของลีโอพาร์ด 2 การออกแบบไครส์เลอร์ ดีเฟนซ์ถูกเลือกให้ได้รับการพัฒนาต่อไปให้เป็นรถถังเอ็ม1 ในปีพ.ศ. 2522 เจเนรัล ไดนามิกส์ก็ได้ซื้อบริษัทไครส์เลอร์ ดีเฟนซ์

มีเอ็ม1 เอบรามส์จำนวน 3,273 คันที่ถูกผลิคออกมาในช่วงพ.ศ. 2522-2528 และเข้าประจำการในกองทัพสหรัฐครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2523 มันมีอาวุธคือปืนใหญ่รถถังโรยัล ออร์ดแนนซ์ แอล7 ขนาด 105 ม.ม.ที่ผลิตตามใบอนุญาต รุ่นที่ได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมเอ็ม1ไอพีที่ออกตัวในปีพ.ศ. 2527 เอ็ม1ไอพีถูกใช้ในการประกวดแข่งขันรถถังของแคนาดาเมื่อปีพ.ศ. 2528 และ 2530

มีเอ็ม1เอ1 เอบรามส์ประมาณ 5,000 คันที่ถูกผลิตออกมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2529-2535 และมีจุดเด่นที่ปืนเอ็ม256 ขนาด 120 ม.ม.ที่ผลิตโดยไรน์เมทัล เอจีของเยอรมนีเพื่อใช้กับลีโอพาร์ด 2 เกราะที่แข็งแกร่ง และระบบป้องกันซีบีอาร์เอ็น

โรงงานผลิตในโอไฮโอปัจจุบันเป็นผู้ผลิตเอบรามส์และก่อนหน้านั้นคือโรงงานในมิชิแกนเมื่อปีพ.ศ. 2525-2539

สงครามอ่าวเปอร์เซีย

เมื่อเข้าประจำการในทศวรรษที่ 2523 เอบรามส์ก็เข้าทำหน้าที่ร่วมกับเอ็ท60เอ3 และรถถังของนาโต้ในการซ้อมรบมากมายในช่วงสงครามเย็น การซ้อมรบเหล่านี้เกิดขึ้นในทางตะวันตกของยุโรป โดยเฉพาะในเยอรมันตะวันตก แต่ก็รวมทั้งในประเทศอื่นๆ อย่างเกาหลีใต้ ในการฝึกเหล่านี้ลูกเรือของเอบรามส์ได้พัฒนาทักษะของพวกเขาเพื่อใช้จัดการกับทหารและยุทรโธปกรณ์ของสหภาพโซเวียต อย่างไรก็ตามในปีพ.ศ. 2534 สหภาพโซเวียตก็ล่มสลายลงและเอบรามส์ก็พบหนทางของมันในตะวันออกกลาง

เอบรามส์ยังคงไม่ได้รับการทดสอบในการรบจนกระทั่งถึงสงครามอ่าวในปีพ.ศ. 2534 เอ็ม1เอ1 ทั้งหมด 1,848 คันถูกส่งเข้าซาอุดิอาระเบีย เอ็ม1เอ1นั้นเหนือชั้นกว่ารถถังที-55 และที-62 ของอิรักที่ผลิตโดยโซเวียต เช่นเดียวกันกับรถถังที-72 และไลออนออฟบาบีลอน ที-72 นั้นเหมือนกับรถถังทั่วไปของโซเวียตคือมันไม่มีระบบมองกลางคืนและเลเซอร์วัดระยะ แม้ว่าพวกมันบางคันจะมีระบบอินฟราเรดและไฟส่อง แต่มันก็ไม่ใช่รุ่นที่ทันสมัยเหมือนกับของเอบรามส์ มีเอ็ม1เอ1 เพียง 23 คันเท่านั้นที่เสียหายร้ายแรงในสงครามอ่าว[10] และมีเพียงคันเดียวเท่านั้นที่สูญเสียลูกเรือไป บางคันได้รับความเสียหายเล็กน้อย มีเอบรามส์เพียงไม่กี่คันที่ถูกศัตรูยิง และมีเพียงคันเดียวที่ได้รับความเสียหายอย่างหนัก

เอ็ม1เอ1 สามารถทำแต้มสังหารที่ระยะ 2,500 เมตรได้ ด้วยระยะนี้ทำให้รถถังโซเวียตหมดโอกาสในปฏิบัติการพายุทะเลทราย เพราะว่าระยะหวังผลของรถถังโซเวียตของอิรักนั้นต่ำกว่า 2,000 เมตร (รถถังของอิรักไม่สามารถยิงขีปนาวุธต่อต้านรถถังได้เหมือนของโซเวียต) นั่นหมายความว่าเอบรามส์สามารถยิงใส่รถถังของศัตรูได้ก่อนที่พวกนั้นจะเข้าสู่ระยะยิง ในอุบติเหตุการยิงใส่พวกเดียวกันเองเกราะของป้อมปืนนั้นสามารถรอดจากกระสุนเจาะเกราะพลังงานจลน์ของรถถังเอ็ม1เอ1 อีกคันได้ ไม่เหมือนกับเกราะด้านข้างของลำตัวกับเกราะด้านหลังของป้อมปืนซึ่งถูกทำลายโดยการยิงจากพวกเดียวกันเองที่ใช้กระสุนยูเรเนียมในยุทธการนอร์ฟอล์ก

การป้องกัน

ลายพราง

ไม่เหมือนกับยานพาหนะในยุคแรกๆ ของกองทัพบกสหรัฐในสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเวียดนาม ซึ่งใช้โครงสีน้ำตาลเขียวเข้มและรูปดาวดวงใหญ่ เอ็ม1 (ขนาดปืน 105 ม.ม.) ในรุ่นผลิตแรกๆ นั้นจะใช้สีเขียวล้วนแลัะเปลี่ยนการใช้รูปดาวไปเป็นแต้มสีดำแทน บางหน่วยจะทำสีรถถังที่ประกอบด้วย 4 สี ปัจจุบันรถถังในภาคสนามที่ใช้สีเดิมที่เป็นสีเขียวนั้นแถบจะไม่มีแล้ว

เอ็ม1เอ1 (ขนาดปืน 120 ม.ม.) ที่ผลิตมาจากโรงงานจะมาพร้อมลายพราง 3 สีของนาโต้ คือ ดำ เขียว และน้ำตาลเขียว ปัจจุบันเอ็ม1 และเอ็ม1เอ1 ที่ประจำในสงครามอ่าวจะถูกทำสีเป็นสีน้ำตาลทะเลทราย รถถังบางคันจะถูกทำสีให้ตรงตามกับหน่วยสังกัด เอ็ม1เอ2 ที่ถูกผลิตให้กับประเทศในตะวันออกกลางก็ทำสีเป็นสีน้ำตาลทะเลทรายเช่นกัน

เอ็ม1 บางรุ่นกำลังถูกทำสีเป็นสีน้ำตาลทะเลทรายเพื่อส่งเข้าทำหน้าที่ในอิรัก ชิ้นส่วนอะไหล่ (เช่น ล้อ แผงเกราะข้าง ล้อเฟือง เป็นต้น) จะถูกทำสีเป็นสีเขียวล้วน ซึ่งบางครั้งก็นำไปใช้กับทั้งรถถังคันที่เป็นสีเขียวและสีน้ำตาลทะเลทราย

การอำพรางตัว

ส่วนป้อมปืนนั้นจะมีท่อยิงระเบิดควันอยู่หกท่อ พวกมันสามารถสร้างกำแพงควันหนาที่ทำให้ศัตรูมองไม่เห็นแม้จะใช้กล้องตรวจจับความร้อนก็ตาม นอกจากนี้มันยังสามารถเปลี่ยนเป็นยิงชาฟฟ์ที่จะรบกวนเรดาร์ได้อีกด้วย ที่เครื่องยนต์มีการติดตั้งเครื่องสร้างควันที่จะเปิดได้โดยพลขับ เมื่อทำงาน มันจะพ่นเชื้อเพลิงตามท่อของเครื่องยนต์จนเกิดเป็นควันขึ้นมา อย่างไรก็ตาม เนื่องมาจากการเปลี่ยนการใช้น้ำมันดีเซลไปเป็นเชื้อเพลิงเจพี-8 ระบบดังกล่าวจึงถูกปิดในรถถังส่วนมาก เพราะว่าเจพี-8 จะทำให้เครื่องยนต์ลูกเป็นไฟแทนหากพ่นมันไปตามท่อเครื่องยนต์

ระบบการป้องกันแบบปฏิบัติ

นอกเหนือจากเกราะที่ก้าวหนาแล้ว เอบรามส์บางคันก็ยังติดตั้งอุปกรณ์ต่อต้านขีปนาวุธเอาไว้ ซึ่งมันสามารถรบกวนระบบนำวิถีของขีปนาวุธสายลวดและขีปนาวุธต่อต้านรถถังนำวิถีด้วยวิทยุ (เช่น เอที-3 เอที-4 เอที-5 เอที-6 ของรัสเซีย) และขีปนาวุธนำวิถีด้วยความร้อนและอินฟราเรดอื่นๆ อุปกรณ์นี้จะติดตั้งอยู่บนป้อมปืนหน้าฝาปิิดห้องลูกเรือ มันทำให้บางคนเข้าใจผิดว่ารถถังที่ติดตั้งอุปกรณ์นี้คือเอ็ม1เอ2 เพราะว่าการติดตั้งช่องสำหรับผู้บัญชาการรถถังในตำแหน่งเดียวกัน

เกราะ

เอบรามส์นั้นได้รับการป้องกันจากเกราะที่มีการออกแบบมาจากเกราะช็อบแฮมของอังกฤษ ซึ่งมันคือการพัฒนาจากเกราะเบอร์ลิงตันของอังกฤษเช่นเดียวกัน ช็อบแฮมเป็นเกราะแบบผสมที่เกิดจากการซ้อนวัสดุที่ประกอบด้วย เหล็กอัลลอย เซรามิก พลาสติกผสม และเคฟลาร์ ทำให้มันมีเกราะหนาถึง 1,320-1,620 มิลลิเมตรที่ต้านทานสารเคมีและความร้อน พร้อมเกราะต้านกระสุนเจาะเกราะพลังงานจลน์หนา 940-960 มิลลิเมตร อาจมีการนำเกราะปฏิกิริยามาใช้ในส่วนล่างหากจำเป็น (ในการรบแบบเมือง) และเกราะแสลทที่ด้านท้ายของรถถังเพื่อป้องกันการโจมตีจากขีปนาวุธนำวิถีต่อต้านรถถัง การป้องกันสะเก็ดระเบิดจะใช้เกราะเคฟลาร์ ในตอนแรกเมื่อปีพ.ศ. 2530 เอ็ม1เอ1 ได้รับการพัฒนาไปใช้เกราะที่ทำงานร่วมกับยูเรเนียมสิ้นอายุที่จะติดตั้งตรงด้านหน้าของป้อมปืนและด้านหน้าของตัวถัง เกราะแบบนี้มีประสิทธิภาพมากในการเพิ่มแรงต้านทานต่ออาวุธต่อต้านรถถังทุกรูปแบบ แต่มันก็ตามมาด้วยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เพราะว่ายูเรเนียมสิ้นอายุนั้นหนักกว่าตะกั่วถึง 1.7 เท่า

เอ็ม1เอ1 รุ่นแรกๆ ที่ใช้เกราะแบบนี้ประจำการอยู่ในเยอรมนี เพราะว่าพวกมันคือแนวตั้งรับแรกสุดต่อสหภาพโซเวียต กองพันยานเกราะของสหรัฐที่ทำสงครามในปฏิบัติการพายุทะเลทรายได้รับการปรับเปลี่ยนไปใช้เกราะยูเรเนียมอย่างกะทันหันก่อนเริ่มการรบ เอ็ม1เอ2 นั้นใช้เกราะเนื้อเดียวที่หน้า 610 มิลลิเมตร ความแข็งแกร่งของเกราะนั้นพอๆ กับรถถังประจัญบานหลักของฝั่งยุโรปอย่างลีโอพาร์ด 2 ในสงครามอ่าว รถถังเอบรามส์รอดจากการถูกยิงหลายครั้งในระยะใกล้โดยรถถังไลออน ออฟ บาบิโลนและขีปนาวุธต่อต้านรถถังของอิรัก กระสุนของเอบรามส์ด้วยกันเองก็ยังไม่สามารถเจาะทะลุเกราะด้านหน้าและด้านข้างได้เช่นกัน ตัวอย่างที่ให้เห็นเกิดขึ้นเมื่อเอบรามส์คันหนึ่งต้องการทำลายเอบรามส์อีกคันที่ติดหล่มและขวางทางอยู่จนต้องทิ้งมันไว้

การควบคุมความเสียหาย

ในกรณีที่เอบรามส์ได้รับความเสียหายจากการถูกยิงเข้าที่ส่วนห้องลูกเรือ รถถังจึงได้ติดตั้งระบบดับเพลิงเอาไว้ ซึ้งมันจะทำการดับเพลิงโดยอัตโนมัติทันทีเมื่อเกิดไฟไหม้

เชื้อเพลิงและกระสุนจะถูกเก็บเอาไว้ในส่วนที่หุ้มเกราะเพื่อป้องกันลูกเรือจากการระเบิดของกระสุนในรถถังเมื่อรถถังถูกยิง

ข้อมูล

บทบาท รถถังประจัญบานหลัก

สัญชาติ สหรัฐอเมริกา

ประจำการ ปีพ.ศ. 2523-ปัจจุบัน

ผู้ใช้งาน USA

สงคราม สงครามอ่าว

สงครามอัฟกานิสถาน

สงครามอิรัก

ผู้ออกแบบ ไครสเลอร์ ดีเฟนซ์(ปัจจุบันเป็น เจเนรัล ไดนามิกส์)

บริษัทผู้ผลิต ลิมา อาร์มี แทงค์ แพลนท์ (พ.ศ. 2523-ปัจจุบัน)

ดีทรอยท์ อาร์เซนอล แทงค์ แพลนท์ (พ.ศ. 2525-2539)

มูลค่า 6.21 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เอ็ม1เอ2)

จำนวนที่ผลิต มากกว่า 9,000 คัน

แบบอื่น M1A1 M1A2 M1A2SEP

น้ำหนัก 61.3 ตัน

ความยาว รวมปืนที่ยื่นออกไปข้างหน้า 9.77 เมตร

ตัวถัง 7.93 เมตร

ความกว้าง 3.66 เมตร

ความสูง 2.44 เมตร

ลูกเรือ 4 นาย (ผู้บัญชาการรถถัง พลปืน พลบรรจุ และพลขับ)

เกราะ เกราะช็อบแฮม เกราะอาร์เอช แผ่นเหล็กป้องกันยูเรเนียม

อาวุธหลัก ปืนใหญ่ลำกล้องเกลียวเอ็ม68 ขนาด 105 ม.ม. (เอ็ม1)

ปืนใหญ่ปัจจุบันไร้เกลียวเอ็ม256 ขนาด 120 ม.ม.(เอ็ม1เอ1 เอ็ม1เอ2 เอ็ม1เอ2เอสอีพี)

อาวุธรอง ปืนกลหนักเอ็ม 2 บราวนิง ขนาด 12.7 ม.ม.หนึ่งกระบอก

ปืนกลเอ็ม240 ขนาด 7.62 ม.ม.สองกระบอก (หนึ่งกระบอกบนฝาครอบ หนึ่งกระบอกข้างปืนหลัก)

เครื่องยนต์ ฮันนีเวลล์ เอจีที1500ซี ให้แรงขับ 1,500 แรงม้า

กำลัง/น้ำหนัก 24.5 แรงม้า/ตัน

ระบบส่งกำลัง อัลลิสัน ดีโอเอ เอ็กซ์-1100-3บี

ระบบช่วงล่าง ทอร์ชั่นบาร์

ระยะห่างระหว่างตัวถังกับพื้น 0.48 เมตร (เอ็ม1 เอ็ม1เอ1)

0.43 เมตร (เอ็ม1เอ2)

ความจุเชื้อเพลิง 500 แกลลอน

พิสัย 465.29 กิโลเมตร

ติดตั้งระบบป้องกันนิวเคลียร์ชีวะเคมี 449.19 กิโลเมตร

ความเร็ว บนถนน: 67.7 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

นอกถนน: 48.3 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

CREDIT

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%A11_%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B9%8C

Edited by Ezero

Share this post


Link to post
Share on other sites
:idz_emo03: ความรู้+กระทู้อับเลเวล

Share this post


Link to post
Share on other sites

ไม่รู้เรื่องรถถังเลย อ่านไว้ซักนิด

:idz_emo03: ความรู้+กระทู้อับเลเวล

อันแรกพอเข้าในแต่อันหลังจุดประสงค์หลักสินะ :idz_emo03:

Share this post


Link to post
Share on other sites

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

Guest
Reply to this topic...

×   Pasted as rich text.   Paste as plain text instead

  Only 75 emoji are allowed.

×   Your link has been automatically embedded.   Display as a link instead

×   Your previous content has been restored.   Clear editor

×   You cannot paste images directly. Upload or insert images from URL.

Loading...
Sign in to follow this  

×
×
  • Create New...