Jump to content
Sign in to follow this  
Ezero

F-16 Fighting Falcon

Recommended Posts

F-16_Fighting_Falcon.jpg

เอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน(อังกฤษ: F-16 Fighting Falcon) เป็นเครื่องบินขับไล่หลากบทบาทที่เดิมที่พัฒนาขึ้นโดยGeneral Dynamicsเพื่อกองทัพอากาศสหรัฐมันถูกออกแบบให้เป็นเครื่องบินขับไล่ตอนกลางวันน้ำหนักเบา มันได้กลายมาเป็นเครื่องบินขับไล่ที่ประสบความสำเร็จ ความสามารถรอบตัวของมันเป็นเหตุผลหนักที่มันทำการตลาดได้เยี่ยมโดยมันถูกเลือกโดยกองทัพอากาศของ 25 ประเทศ (ไทย1ในนั้น)

เอฟ-16 เป็นนักสู้กลางอากาศที่มีวัตกรรมมากมายรวมทั้งฝาครอบห้องนักบินที่โค้งมน คันบังคับแบบแท่งที่ทำให้งานต่อการควบคุมภายใต้แรงจี และที่นั่งที่เอนไปด้านหลังเพื่อลดแรงจีที่กระทำต่อนักบิน อาวุธมีทั้งปืนใหญ่เอ็ม61 วัลแคนและขีปนาวุธมากมาย 11 ตำบล มันยังเป็นเครื่องบินขับไล่แบบแรกที่ถูกสร้างมาเพื่อทำการเลี้ยวแบบ 9 จีได้ มันมีอัตราการผลักต่อน้ำหนักที่ดีมาก ส่งผลให้มันมีพลังในการไต่ระดับและการเร่งที่ยอดเยี่ยมหากจำเป็น แม้ว่าชื่อทางการของมันคือ"ไฟทิงฟอลคอน" แต่นักบินก็เรียกมันว่า ไวเปอร์ (Viper) เนื่องมาจากมันคล้ายกับงูเห่าและตั้งชื่อตามยานขับไล่ในซีรีส์สแบทเทิลสตาร์ กาแลคติก้า

เอฟ-16 มีกำหนดการที่จะปลดออกจากประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐในปีพ.ศ. 2568 มีการวางแผนที่จะแทนที่เอฟ-16 ด้วยเอฟ-35 ไลท์นิ่ง 2 ซึ่งจะเข้าประจำการในปีพ.ศ. 2554 และจะเริ่มเข้าแทนที่เครื่องบินหลากบทบาทจำนวนมากในกองทัพของชาติที่เข้าร่วมโครงการ

f35-lightning_ii1-300x240.jpg

ต้นกำเนิด

ด้วยประสบการณ์จากสงครามเวียดนามที่บ่งบอกถึงความสามารถของเครื่องบินขับไล่ที่อเมริกาจะต้องการในเร็วๆ นี้ และความต้องการที่จะต้องให้นักบินได้รับการฝึกการต่อสู้ในอากาศให้มากขึ้น ความต้องการเครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรียบทางอากาศแบบใหม่นั้นทำให้กองทัพอากาศสหรัฐเริ่มศึกษาการพัฒนาจากสองความคิดในปีพ.ศ. 2508 คือ โครงการทดลองเครื่องบินขับไล่หรือเอฟเอกซ์ (Fighter Experimental, FX) ที่เป็นเครื่องบินปีกพับได้ขนาด 27,200 กิโลกรัมพร้อมเครื่องยนต์สองเครื่อง และ โครงการเครื่องบินขับไล่กลางวันแบบพัฒนาหรือเอดีเอฟ (Advanced Day Fighter, ADF) ที่เป็นเครื่องบินน้ำหนักเบาขนาด 11,300 กิโลกรัมซึ่งมากกว่ามิก-21 25% อย่างไรก็ดีการปรากฏตัวของมิก-25 ที่ทำความเร็วได้ถึงมัก 3 ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2510 นั้น ทำให้โครงการเอดีเอฟตกเป็นรองจากโครงการเอฟเอกซ์ ซึ่งได้ผลิตเอฟ-15 ขนาด 18,100 กิโลกรัมออกมา

โครงการเครื่องบินขับไล่น้ำหนักเบา

ในปลายทศวรรษที่ 1960 บอยด์ได้รวบรวมกลุ่มผู้คิดค้นที่กลายมาเป็นกลุ่มที่รู้จักกันในชื่อ"มาเฟียเครื่องบินขับไล่น้ำหนักเบา" ในปีพ.ศ. 2512 กลุ่มสามารถหาทุนในการศึกษาและประเมินผลทฤษฎีอี-เอ็มของพวกเขา เจเนรัล ไดนามิกส์ได้รับเงินจำนวน 149,000 ดอลลาร์สหรัฐ และนอร์ทธรอปได้รับ 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อทำการพัฒนาแบบความคิดที่จะใช้เป็นตัวทฤษฎีอี-เอ็มของบอยด์ งานของพวกเขานำไปสู่วายเอฟ-16 และวายเอฟ-17 ตามลำดับ

ํYF-16

yf16.jpg

YF-17

Northrop_YF-17_Cobra_-_in_flight.jpg

ประวัติการใช้งาน

การรบครั้งแรกประสบผลที่หุบเขาเบก้าและการบุกออสอิรัก (พ.ศ. 2524)

ปฏิบัติการความสงบเพื่อกัลลิลี (พ.ศ. 2525)

เหตุการณ์ในช่วงสงครามโซเวียต-อัฟกานิสถาน (พ.ศ. 2529-2531)

ปฏิบัติการพายุทะเลทราย (พ.ศ. 2534)

ปฏิบัติการทางอากาศเหนืออิรัก (พ.ศ. 2534-2546)

การพยายามรัฐประหารเวเนซูเอลา (พ.ศ. 2535)

บัลข่าน (พ.ศ. 2537-2538 และ 2542)

เหตุการณ์ในอีเจียน (พ.ศ. 2539 และ 2549)

สงครามคาร์จิล (พ.ศ. 2542)

ปฏิบัติการในอัฟกานิสถาน (พ.ศ. 2544-ปัจจุบัน)

ปฏิบัติการพายุมืด

การบุกอิรักและปฏิบัติการหลังสงคราม (พ.ศ. 2546-ปัจจุบัน)

สงครามเลบานอนครั้งที่สอง (พ.ศ. 2549)

ความขัดแย้งของอิสราเอลและกาซ่าในปีพ.ศ. 2551-2552

รายละเอียด เอฟ-16ซี

ลูกเรือ : 1 นาย

ความยาว : 14.8 เมตร

ความสูง : 4.8 เมตร

ระยะระหว่างปลายปีก: 9.45 เมตร

พื้นที่ปีก : 27.87 ตารางเมตร

น้ำหนักเปล่า : 8,670 กิโลกรัม

น้ำหนักพร้อมอาวุธ : 12,000 กิโลกรัม

น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด : 14,968 กิโลกรัม

ขุมกำลัง : เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนพร้อมสันดาปท้ายแบบเอฟ110-จีอี-100 ให้แรงขับ 17,155 ปอนด์และ 28,600 ปอนด์เมื่อใช้สันดาปท้าย

ความเร็วสูงสุด : 1.2 มัค (1,470 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ในระดับน้ำทะเล

มากกว่า 2.0 มัค (2,414 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ในระดับสูง

รัศมีทำการรบ : 550 กิโลเมตรพร้อมระเบิด 450 กิโลกรัม

ระยะในการขนส่ง : 4,220 กิโลมตรพร้อมถังที่สลัดทิ้งได้

เพดานบินทำการ : มาก 60,000 ฟุต

อัตราการไต่ระดับ : 50,000 ฟุตต่อนาที

น้ำหนักบรรทุกที่ปีก : 194 กิโลกรัมต่อตารางเมตร

อัตราแรงขับต่อน้ำหนัก : 1.095

อาวุธ

ปืน

ปืนแกทลิ่งเอ็ม61 วัลแคนขนาด 20 ม.ม.หนึ่งกระบอก พร้อมกระสุน 515 นัด

จรวด

กระเปาะจรวดแบบแอลเอยู-61/แอลเอยู/68 4 อัน (แต่ละอันมีจรวดไฮดรา 70 19 และ 7 ลูกตามลำดับ) หรือ

กระเปาะจรวดแบบแอลเอยู-5003 4 อัน (แต่ละอันมีจรวดซีอาร์วี7 19 ลูก) หรือ

กระเปาะจรวดแบบแอลเอยู-10 4 อัน (แต่ละอันมีจรวดซูนิ 4 ลูก)

ขีปนาวุธ

ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศ

เอไอเอ็ม-7 สแปร์โรว์ 2 ลูก หรือ

เอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์ 6 ลูก หรือ

ไอริส-ที 6 ลูก หรือ

เอไอเอ็ม-120 แอมแรม 6 ลูก หรือ

ไพธอน-4 6 ลูก

ขีปนาวุธอากาศสู่พื้น

เอจีเอ็ม-45 ไชรค์ 6 ลูก หรือ

เอจีเอ็ม-65 มาเวอร์ริก 6 ลูก หรือ

เอจีเอ็ม-88 ฮาร์ม 4 ลูก

ขีปนาวุธต่อต้านเรือ

เอจีเอ็ม-84 ฮาร์พูน 2 ลูก หรือ

เอจีเอ็ม-119 เพนกวิน 4 ลูก

ระเบิด

ซีบียู-87 2 ลูก

ซีบียู-89 2 ลูก

ซีบียู-97 2 ลูก

จีบียู-10 เพฟเวย์ 2 4 ลูก

จีบียู-12 เพฟเวย์ 2 6 ลูก

ระเบิดวิถีด้วยเลเซอร์ตระกูลเพฟเวย์ 6 ลูก

เจแดม 4 ลูก

ระเบิดมาร์ค 84 4 ลูก

ระเบิดมาร์ค 83 8 ลูก

ระเบิดมาร์ค 82 12 ลูก

ระเบิดนิวเคลียร์ บี61

อื่นๆ

เครื่องปล่อยพลุล่อเป้าแบบเอสยูยู-42เอ/เอ หรือ

อีเอ็มซีแบบเอเอ็น/เอแอลคิว-131 และเอเอ็น/เอแอลคิว-184 หรือ

กระเปาะหาเป้าแบบแลนเทิร์น ล็อกฮีด มาร์ติน สไนเปอร์ เอ็กซ์อาร์ และไลท์นิ่ง หรือ

ถังเชื้อเพลิงทิ้งได้ขนาด 300/330/370 แกลลอนสหรัฐฯ ได้มากถึง 3 ถังเพื่อทำการขนส่งหรือเพิ่มระยะ

อิเลคทรอนิกอากาศ

เรดาร์แบบเอเอ็น/เอพีจี-68

CREDIT

http://th.wikipedia....%B8%AD%E0%B8%99

และ google ในการหารูป

Share this post


Link to post
Share on other sites
:idz_emo05: รู้สึกจะมรสงครามไนไอดอล 3 กระทู้ติด

Share this post


Link to post
Share on other sites

สวยนะ

ที่หลังบ้านจอดเก็บไว้ลำนึง

:idz_emo07: :idz_emo07:

อันนี้เชื่อตายล่ะ ไหนเอามาโชว์สิ :idz_emo06:

Edited by GTTK

Share this post


Link to post
Share on other sites

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

Guest
Reply to this topic...

×   Pasted as rich text.   Paste as plain text instead

  Only 75 emoji are allowed.

×   Your link has been automatically embedded.   Display as a link instead

×   Your previous content has been restored.   Clear editor

×   You cannot paste images directly. Upload or insert images from URL.

Loading...
Sign in to follow this  

×
×
  • Create New...