Jump to content
Sign in to follow this  
Ezero

ปลย. 51 (TAR-21) กองทัพไทย

Recommended Posts

ปลย. 51 (TAR-21)

7bf35ef9d5f92d20d345cdee2961fea6.jpg

ทาวอร์ ทาร์ 21 (IMI Tavor TAR-21) เป็นปืนเล็กยาวรุ่นใหม่ของอิสราเอล ออกแบบตั้งแต่ พ.ศ. 2534 เริ่มทดสอบตั้งแต่ พ.ศ. 2542-2543 และเริ่มประจำการตั้งแต่ พ.ศ. 2545 ในกองทัพโคลัมเบีย, คอสตาริกา, จอร์เจีย, กัวเตมาลา, อิสราเอล, อินเดีย และโปรตุเกส

กองทัพบกไทยได้ทำสัญญาสั่งซื้อ ทาวอร์ ทาร์ 21 เข้าประจำการ จำนวน 15,000 กระบอก ในปี พ.ศ. 2550-2552 และเข้าประจำการในชื่อว่า "ปืนเล็กยาว แบบ 50 (ปลย. 50)" โดยเข้าประจำการในกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ (ร.31 รอ.)

ชื่อ TAR-21 ย่อมาจาก "Tavor Assault Rifle - 21st Century" หมายความว่า เป็นปืนเล็กยาวของศตวรรษที่ 21

คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้กองทัพบกจัดหาปืนเล็กยาว TAR-21 Tavor

จำนวน 15,037 กระบอก และปืนกลแบบ Negev จำนวน 553 กระบอกจากอิสราเอล

วงเงิน 1,012,604,512 บาท จากรัฐบาลประเทศอิสราเอล ระหว่างปี 2551-2553

ซึ่งเป็นการจัดหาเพิ่มเติมจากการจัดหาในจำนวนที่เท่ากันเมื่อปีที่แล้ว โดยกองทัพบก

จะนำไปทดแทนปืนรุ่นเก่าที่ใช้งานมานานและเริ่มเสื่อมสภาพลงไปเรื่อย ๆ อย่าง M16A1

และ HK33 วนปืนกลแบบ Negev ก็จะเป็นปืนกลประจำหมู่ไว้ยิงสนับสนุนกำลังรบในหมู่

ส่วนตัวแล้วยอมรับตรง ๆ ว่าไม่รู้เรื่องปืนเลยครับ จึงบอกไม่ได้ว่าดีหรือไม่ดี แต่เท่าที่นั่งฟัง

คนที่เชี่ยวชาญเรื่องปืนพูด ๆ กันมา Tavor ถือว่าเป็นปืนที่มีประสิทธิภาพสูงมากแบบหนึ่งของโลก

แม้ว่าจะมีจุดอ่อนในบางส่วน เช่นในเรื่องของกล้องเล็งที่ยังไม่ทราบว่าจะทนทาน

ทนไม้ทนมือทหารไทยหรือเปล่า ส่วน Negev นั้น คงช่วยเพิ่มอำนาจการยิงให้กับหมู่ปืนเล็ก

ของทหารราบได้มากทีเดียวครับ เมื่อปืนมีจำนวนมากขึ้นและกำลังพลได้รับการฝึกจนชำนาญ

เราอาจจะเห็นภาพข่าวที่มีปืนสองแบบนี้ประกอบอยู่จากภาคใต้

ทั้งนี้ ให้ผบ.ทบ. หรือผู้แทน เป็นผู้ลงนามในความตกลงซื้อขายระหว่างรับบาลไทย

กับรัฐบาลอิสราเอล โดยให้รวมถึงการลงนามในเอกสารแก้ไขความตกลงที่อาจเกิดขึ้น

ในภายหลังในการจัด ซื้อปืนเล็กกลขนาด 5.56 มิลลิเมตร แบบ NEGEV

จากรัฐบาลอิสราเอล 531 กระบอก วงเงิน 140,276,691, บาท

การต่างประเทศรายงานว่า สามารถดำเนินการได้โดยไม่เข้าข่ายหนังสือ

สัญญาตามมาตรา 190 วรรค 2 แห่งรัฐธรรมนูญ 2550

ข้อมูล/ขีปนวิธี

ปลย. แปลว่า ปืนเล็กยาว เป็นปืนประจำกายของทหาร

ปลย.51 คือ ปืนเล็กยาวเข้าประจำการปี 51 ก็คือ ปืน TAR-21 Tavor

ชนิด ปืนเล็กยาวจู่โจม (Assault Rifle)

ขนาดลำกล้อง ความยาวลำกล้อง 460มิลลิเมตร

กระสุน 5.56x45 mm. NATO อัตราการยิง 750 - 900 นัด/นาที

ระยะหวังผล 200 - 300 เมตร

น้ำหนัก 2.8 กิโลกรัม (ปืนเปล่า) 3.653 กิโลกรัม (บรรจุกระสุนและเครื่องเล็ง)

ความยาว 720 มิลลิเมตร

Tavor TAR-21 assault rifle (standard version)

7bf35ef9d5f92d20d345cdee2961fea6.jpg

Tavor TAR-21 assault rifle with 40mm M203

8c783c587ebd91d1037d53c28f37e899.jpg

ข้อมูลทางเทคนิคของปืน Tarvo

แบบของปืนเล็กยาว

Tar

Ctar

ความกว้างของปากลำกล้อง

5.56X45 มม.

หลักการทำงาน

ยิงจากตำแหน่งหน้าลูกเลื่อนเปิด, แรงดันแก๊สดันหัวลูกสูบ

กระสุน

M855/SS109

น้ำหนัก(เฉพาะตัวปืน)

3.3 กก.

3.2 กก.

ความยาว

72.5 ซม.

64 ซม.

ความยาวลำกล้อง

46 ซม.

38 ซม.

เกลียวลำกล้อง

6เกลียว,วนขวา ครบรอบที่ระยะ 7 นิ้ว

ความเร็วต้นของกระสุน

960 เมตร/วินาที

910 เมตร/วินาที

อัตราเร็วในการยิง

700-1000 นัด/นาที

กล้องเล็ง

กล้องเล็งสะท้อนภาพ MEPRO, ติดตั้งกับลำกล้อง,

มีศูนย์เล็งสำรองสำหรับใช้เมื่อกล้องเล็ง MEPRO ใช้การไม่ได้

อุปกรณ์ประกอบตามมาตรฐาน

-สายสะพาย

-ซองกระสุนขนาดความจุ 30 นัด

-คู่มือการใช้งาน และกล่องชุดเครื่องมือทำความสะอาด

อุปกรณ์พิเศษ(เผื่อเลือก)

-ดาบปลายปืน, ขาทราย

-เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 40 มม.

-กล้องเล็งแบบต่างๆ มีหลายแบบ

ข้อมูลด้านล่างเป็นข้อมูลจากคุณ Skyscraper จากเว็บhttp://www.siambbgun...?topic=247121.0

เนื่องจากผมติดตามข่าวมาตั้งแต่ลอตแรกเลย ปี 50

ล็อต 1. 15,037 กระบอก

ล็อต 2. 15.037 กระบอก

ล็อต 3. 13,868 กระบอก (บางคนบอกล็อต 3 เป็น m16a4 ไม่ใช่ครับ มันคนละตัวคนละรุ้นกันเลย ดังนั้นถ้าสั่งm16a4 จะไม่ใช่ล็อต3 แต่เป้น ล็อต1 m16a4 แทนครับ)

ล็อต 4. ที่ผมทำห้องไว้อะครับเกียวกับปืน ทบ 13.868 กระบอก 15 กย 52 รหัส (ทบ.1399)

ล็อต 5 อันนี้บ้าพลัง 2 สัปดาต่อมา 22 กย 52 สั่งเพิ้มอีก 14,264 กระบอก โห เดือนเดียว 28,132 กระบอกแม่เจ้า

ทบ.มีแผนจะซื้อปืน ปลยใหม่ตั้งหลายบปีแล้วครับ เลือกแบบปืนอยู่ 2ปีมาลงที่ tar 21 ส่วน m16a4 เราสั่งไปก่อนรัฐประหารครับแล้วไอกันมันไม่ส่งคืนให้ พอมีรัฐบาลมันก็ส่งคืนให้ ทั้งๆที่ ทบ อยากจะเอาเงินมากกว่าปืน เอาไปซื้อ tar 21 ครับ ในแผน ทบ มีอยู่ว่า จัดหา ปลยใหม่ ที่ทันสมัย ดูแลง่าน สดวกและ มีความเชื่อถือสูงสุดครับ ในแผน ต้องจัดหาปลยใหม่ถึง 106,205 กระบอก

ล็อตที่3 เงียบมากครับ นักข่าวบางคนยังไม่รู้เลย ผมต้องหาข้อมูลอยู่นาน ตอนแรกก็ไม่รู้ จนเมื้อ 15 กย บอกว่าล็อต 4 มา อ้าวงง แล้ว3ละ หาข้อมูลจนยื้นยันได้ครับ

ทั้งนี้รวม tar 21 แล้ว = 72,074 กระบอก แล้ว แม่เจ้า เหลืออีก 34,131 กระบอก ไม่รวม m16a4 20,000 กว่ากระบอกนะครับ ในล็อต 5 มาพร้อมกับหลายอย่างครับ แช่น sea hawk ของทร เรือ ของ ทร หลายชนิด เง้อ ทหารไทยมีของเล่นใหม่มากขึ้นละครับ

อ้าลืมกระทู้เก่าผมจำไม่ได้ว่าผมบอกปืนที่ถูกคัดเลือกมา 4 อันดับสุดท้ายที่ผ่านจะเข้ามาเป้นปืนใหม่ตอนก่อนสั่งล็อตแรกมี 1. m4a1 usa 2. Styler AUG จากออสเตรีย 3. g36 เยยรมัน 4 tar 21 imi อิสราเอลครับ

CREDIT

http://www.mydrmobile.com/mobileboar...t27605/0/?wap2

http://www.siambbgun...?topic=247121.0

http://www.jokergameth.com/board/showthread.php?t=134156

Share this post


Link to post
Share on other sites

ก่อนอื่นสำหรับปืนตระกูล TAR-21 Tavor ตามตำราคือมี 5 รุ่นคือ

1 TAR-21 ซึ่งก็คือตัว ปลย.(Rifle)มาตรฐาน มีแท่นรับด้ามดาบปลายปืน สามารถติดดาบได้ทั้ง M7และM9

2 CTAR-21 ตัว C คือ Commander ซึ่งถ้าตามความหมายของบริษัทผู้ผลิต(หรือเราแปลผิดหรือเปล่าก็ไม่รู้)ก็คือ ปืนสำหรับผู้บังคับบัญชา คือ ลำกล้องจะสั้นกว่าตัว TAR-21 ไม่สามารถติดดาบปลายปืนได้ แต่ส่วนตัวถ้าจะให้จัดประเภทมันก็คือตัว Carbine หรือ ปลส.(ปืนเล็กสั้น) ครับ

3 GTAR-21 G ก็คือ Grenade launcher เครื่องยิงลูกระเบิด ตัวนี้คือตัวที่ติดเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 40 มม.แบบ M203 ครับ

4 MTAR-21 M ก็คือ Micro เป็นตัวที่ลำกล้องสั้นลงไปอีก(สั้นกว่า CTAR) ถ้าจัดชั้นให้คือ Submachine gun หรือ ปืนกลมือ ปกม. ตัวนี้มีข้อแตกต่างจากพี่น้องร่วมตระกูลอีกคือ เครื่องป้องกันไกจาก การ์ดด้านหน้าเป็นโก่งไกเหมือนปืนทั่วๆไป และตัวปลดซองกระสุนจากก้านปลด(อยู่หน้าช่องรับซองกระสุน) เป็น ปุ่มกด(น่าจะซ้าย-ขวา)เหนือโก่งไก คล้ายๆของปืนตระกูลM16 ครับ

5 STAR-21 S ถ้าจำไม่ผิดคือ Sharp shooter ตัวนี้คือปืนสำหรับพลแม่นปืน หรือ Designated marksman-Rifle (ซึ่งคนละอย่างกับพลซุ่มยิงหรือ Sniper นะครับ) เท่าที่เห็นในรูป(เพราะไม่เคยจับตัวจริงสำหรับเจ้าตัวนี้) มันก็คือ TAR-21 ที่ติดกล้องเล็งกำลังขยาย Trijicon ACOG และติด Bi-pod(ขาทราย 2ขา) เท่านั้นเอง ตรงนี้ไม่ทราบว่า IWI กะเป็นพ่อค้าคนกลางโดยฮั้วกับทริจิค่อนด้วยการเอา ACOG มาติดบน TAR-21 พ่วง Bi-pod เข้าไปแล้วอุปโหลกว่าเป็น DM-R แล้วชาร์จราคาเพิ่มเข้าไป เพราะถ้าจะให้เป็น DM-R จริงๆ ลำกล้องต้องต่างจากตัวมาตรฐานTAR-21 ต้องเป็นลำกล้อง Match grade เพราะถ้าไม่ใช่ลำกล้อง Match grade มันก็คือ TAR-21 ที่เปลี่ยนเครื่องช่วยเล็งยิงเป็น Optic มีกำลังขยาย และติดขาทรายเท่านั้นเอง

ส่วนมากปืนสำหรับพลแม่นปืน(ย้ำอีกครั้ง ว่าคนละอย่างกับพลซุ่มยิง)จะนิยมนำ ปลย. ประจำการปกติมาพัฒนาปรับปรุงเพื่อเพิ่มความแม่นยำเช่น เปลี่ยนลำกล้องเป็นลำกล้อง Match grade,เพิ่มอุปกรณ์ช่วยเล็งยิงประเภท Optic มีกำลังขยายกลางวัน/กลางคืน แต่ยังคงชิ้นส่วนหลักที่เหมือนๆกับ ปลย.ประจำการเพื่อง่ายในการส่งกำลัง ยกตัวอย่างเช่น ปืน Mk12 Mod 0,1 โดยเฉพาะตัว mod 1 ที่ถ้าดูรูปทรงภายนอกก็แถบจะไม่แตกต่างจาก M16A4 เท่าไหร่ แต่ปัจจัยหลักคือเปลี่ยนลำกล้องเป็นลำกล้อง Match grade 18 นิ้ว (ติดมัสเซิลเบรกและติดอุปกรณ์ลดเสียง) และติดกล้องเล็งกำลังขยายของ ลิวโพว์ ทั้งนี้ทั้งนั้นกระสุนก็เป็นปัจจัยสำคัญเหมือนกัน เพราะถ้าใช้กระสุนทั่วไปล็อตเดียวกับ ปลย. กลุ่มกระสุนจะไม่ดีเท่าที่ควร เช่น Mk12 mod 0,1 ถ้าใช้กับกระสุน Mk262 mod (77เกรน) จะทำกลุ่มได้ดีกว่ากระสุน M855(62เกรน)

สำหรับ ทบ.ไทย เท่าที่ผ่านตาปืนตระกูล Tavor ที่จ่ายให้หน่วยจะเป็น TAR-21 และ X-95(ปรับปรุงมาจาก MTAR-21) เครื่องช่วยเล็งเป็นกล้องเล็งสะท้อนภาพจุดแดง (Red-dot Reflex sight) แบบ Mepro 21M สำหรับ TAR-21 ถ้าจะถอดกล้องเล็งต้องถอดโครงปืนออกก่อนซึ่งในระดับผู้ใช้และหน่วยใช้ไม่ได้ รับอนุญาตให้ถอด แต่สำหรับ X-95 จะมาเป็นแบบแท่นยึด(กับรางพิคาทินนี่ มาตรฐาน M1913)พร้อมขาปลดไวและFlash killer กันการสะท้อนแสง ในปัจจุบันมีกล้องเล็งอีก 1 แบบที่เริ่มจ่ายคือ Mepro MOR Mepro MOR เป็น Red-dot Reflex sight เหมือน Mepro 21 M แต่สามารถปรับความเข้มแสงได้และมี Laser aiming device ในตัวทั้งโหมดมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและโหมด IR (ใช้กับ NVG)

ต่อไปมาถึงข้อดี-ข้อเสียครับ ตรงนี้ขอบอกก่อนนะครับว่ามาจากความคิดเห็นส่วนตัวเท่าที่ได้ใช้งานมาในการ ฝึกและรับฟังจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ในการใช้งานภาคสนาม

ข้อดี

1 สั้นกะทัดรัดและน้ำหนักเบากว่าเมื่อเทียบกับ ปลย. รูปทรงปกติแบบอื่นๆที่มีในประจำการ ตรงส่วนนี้ที่เคยใช้งานในการออกฝึกเป็นหน่วยมา ตัวสายสะพายที่ได้รับการออกแบบมาให้มีความกว้างเพื่อถ่ายเทน้ำหนักและมีความ ลื่นไม่บาดคอเวลาสะพายเฉียง และระบบผูกยึดกับตัวที่เป็นขอเกาะ(มีผ้าคลุมตัวขอเกาะอีกที)เกาะกับเชือกร่ม ที่ผูกกับหูกระวินที่ตัวปืนอีกที(เป็นแพทเทินของสายสะพายปืนของ IDF เหตุผลที่ไม่นำขอเกาะที่เป็นโลหะเกาะเข้ากับหูกระวินปืนโดยตรงแต่กับเกาะ เข้ากับเชือกร่มที่ผูกกับหูกระวินปืนอีกทีเป็นเพราะต้องการลดเสียงที่เกิด จากโลหะกระทบรวมถึงการที่มีผ้าคลุมตัวขอเกาะโลหะด้วยเช่นกัน) ตรงนี้ส่วนตัวแล้วชอบมาก

ส่วนตัวเคยใช้ TAR-21 ในการตรวจสภาพความพร้อมรบมาแล้วทั้งช่วงซ้อมช่วงจริงมาแล้วเป็นสิบๆ ครั้ง(สะพายเฉียงพร้อมแบบเป้สนาม) รวมถึงการออกฝึกเป็นหน่วย(เดิน วิ่ง หมอบ ลุก คลุก คลานในขณะสะพายปืนเฉียงอยู่) ด้วยข้อดีของการออกแบบระบบสายสะพายปืนมาตรฐานประจำปืนดังกล่าวรวมถึงความ สั้นและเบาของปืน ส่วนตัวผมว่าสบายกว่า ปลย.ที่ใช้สายสะพายปืนมาตรฐานแบบอื่นๆที่มีในประจำการ ส่วนตัวผมจะปรับสายสะพายปืนค่อนข้างยาว เพราะถ้าปรับสั้นจนชิดตัวมากเกินไปเมื่อมีเครื่องสนามมันจะติด และผมจะสะพายปืนก่อนแล้วค่อยสวมเป้สนาม เคยฝึกเข้าตีด้วยกระสุนจริง สะพายทาวอร์เฉียง มือหนึ่งถือวิทยุ PRC 624 อีกมือถือ แผ่นบริวาร ต้องโผวิ่งตลอด แต่กลับกลายเป็นว่าผมเกือบลืมไปเลยว่าสะพายปืนอยู่ ถ้าเป็น ปลย. แบบอื่นอาจมีสะดุดปลายลำกล้องล้มหัวทิ่มให้นายสิบสื่อสารกับนายทหารยิงสนับ สนุนประจำกองร้อยขำก๊ากกเป็นแน่แท้ ดังนั้นถ้าใครบอกว่ามันลำบากมันหนักน่าจะเป็นเพราะความอ่อนแอส่วนตัว มากกว่า

2 ข้อนี้จะว่าเป็นที่ตัวปืนก็ไม่ถูกเสียทีเดียว เพราะมันเป็นที่เครื่องช่วยเล็งที่มากับปืน(เพราะถ้าปืนแบบอื่นที่ติด เครื่องช่วยเล็งในลักษณะเดียวกันก็ไม่ต่างกัน) ด้วยกล้องเล็งสะท้อนภาพจุดแดง ที่ออกแบบมาสำหรับการยิงฉับพลันในระยะประชิด ทำให้สามารถยิงฉับพลันได้เร็วและมุมตรวจการณ์ไม่เสีย,ไม่ต้องพะวงถึงแหล่ง พลังงานภายนอกเพราะไม่ใช้แบตตารี่ รวมถึงการยิงในเวลากลางคืนที่ทำได้ดีกว่าเพราะมองเห็นจุดเล็ง ในส่วนของศูนย์เปิดสำรองหรือ BUIS (Back Up Iron Sight) เองก็มีสารเรืองแสงแต้มไว้สามารถมองเห็นได้ในเวลากลางคืน

ข้อเสีย ผมขอแบ่งเป็น 2 หัวข้อใหญ่คือ ตัวปืน และ เครื่องช่วยเล็ง

ตัวปืน

1 การแก้ไขปืนในกรณีปืนยิงต่อไม่ได้

1.1 ด้วยความที่เป็นปืนบูลพัพที่ส่วนของท้ายรังเพลิงและชุดลูกเลื่อนอยู่ด้าน หลัง ดังนั้นในการตรวจสอบรังเพลิงเพื่อดูว่าปืนยิงต่อไม่ได้เนื่องจากสาเหตุอะไร ทำได้ยากและช้ากว่าปืนทรงคลาสสิคที่เมื่อเวลาพลิกปืนเพื่อตรวจสอบรังเพลิง รังเพลิงจะอยู่ในแนวสายตาพอดี

1.2 การเปลี่ยนซองกระสุน ด้วยความที่ช่องรับซองกระสุนอยู่ชิดตัว ทำให้เปลี่ยนซองได้ยากและช้า ตรงนี้สามารถฝึกทำความคุ้นเคยได้ ส่วนตัวใช้หลังนิ้วหัวแม่มือข้างที่จับด้ามปืนถอยหลังมากดก้านปลด ซองกระสุน(มือยังกำด้ามปืนอยู่) ในขณะที่อีกมือหยิบซองกระสุนใหม่ขึ้นมาเพื่อเสียบเข้ากับช่องรับซองกระสุน แล้วเลื่อนมือไปกดคานปลดหน้าลูกเลื่อนที่แขวนค้างอยู่

1.3 การแก้ไขเหตุติดขัดกรณี กระสุนซ้อนนัด(double feed) ซึ่งต้องมีการแขวนลูกเลื่อน ตรงนี้ด้วยตำแหน่งของคานแขวนที่อยู่ค่อนไปทางพานท้ายปืนทำให้การแขวนลูก เลื่อนที่ต้องใช้มือหนึ่งดึงง้างออกในขณะที่อีกมือหนึ่งเอื้อมไปดึงคันรั้ง ลูกเลื่อนพร้อมกันทำให้น้ำหนักตัวปืนไม่บาลานซ์และกระทำได้ยาก ส่วนตัวถ้าใช้มือขวาจับด้ามปืนจะพลิกปืนมาด้านซ้ายแล้วใช้มือขวาดึงคานแขวน หน้าลูกเลื่อนในขณะที่มือซ้ายดึงคันรั้งฯโดยกดพานท้ายเข้ากับตัว ตรงนี้ทำได้ยากซึ่งจะมีผลในการแก้ไขปืนติดขัดในขณะปะทะติดพัน

2 ตำแหน่งของก้านปลดซองกระสุนที่อยู่ใกล้ตัวทำให้เกิดการเกาะเกี่ยวและทำ ซองกระสุนหล่นโดยไม่ตั้งใจได้ง่ายและไม่รู้ตัวเพราะซองกระสุนไม่ได้อยู่ใน แนวสายตา

3 การถอดประกอบที่จำกัดชิ้นส่วนในการถอดประกอบในระดับผู้ใช้หน่วยใช้เพื่อลด ขั้นตอนของผู้ใช้ก็จริงแต่การถอดประกอบในส่วนของ ลูกเลื่อน,หน้าลูกเลื่อนและเข็มแทงชนวน กระทำได้ยากโดยเฉพาะหากไม่มีแสง เพราะจำเป็นต้องใช้สายตามอง ใช้มือคลำเพื่อสัมผัสได้ยาก

4 ปืนถูกออกแบบมาให้สามารถสลับชิ้นส่วนได้สำหรับการยิงด้วยไหล่ซ้ายและขวาแต่ ต้องใช้เครื่องมือควบ ปัญหาไปอยู่ที่ การจำกัดการถอดประกอบในระดับผู้ใช้หน่วยใช้ทำให้ผู้ใช้หน่วยใช้ไม่สามารถ สลับชิ้นส่วนดังกล่าวเพื่อผู้ยิงที่ถนัดขวาหรือซ้ายได้ด้วยตนเองเพราะไม่มี เครื่องมือ ถ้าจะสลับจำเป็นต้องส่งให้หน่วยซ่อมโดยตรงทำการสลับให้ ยกตัวอย่าง ร้อย.อวบ.และพัน.ร.ไม่สามารถสลับชิ้นส่วนดังกล่าวได้จำเป็นต้องนำไปให้ กองพันซ่อมบำรุงของ กรมสนับสนุนดำเนินการให้ ซึ่งยุ่งยากและเสียเวลาทางธุรการโดยไม่จำเป็นโดยเฉพาะหากกองพันที่เกี่ยว ข้องดังกล่าวมีที่ตั้งอยู่กันคนละจังหวัด

5 และด้วยการจำกัดการถอดประกอบดังกล่าวข้างต้น ทำให้การทำความสะอาดปืนในจุดซ่อนเร้นซอกลืบกระทำได้ยากหรือเป็นไปไม่ได้ ตรงนี้จากการใช้งานในสนามที่มีสภาพอากาศชื้นเคยพบปืนกดไกปืนไม่ยุบตัว(ไม่ ลั่น) เนื่องจากก้านกระเดื่องที่ต่อจากไกไปด้านหลังเพื่อปลดเซียเป็นสนิมหรือมี สิ่งอุดตัน และชิ้นส่วนโลหะภายในโครงปืนเป็นสนิมโดยที่เข้าทำความสะอาดได้จำกัด

6 ข้อนี้เป็นข้อสำคัญที่พึ่งพบคือ แหนบขอรั้งปลอกกระสุน ของทาวอร์เป็นลูกยาง(เอ็ม 16 เป็นสปริงโลหะ) ปัญหาที่พบคือ ลูกยางดังกล่าวเสื่อมสภาพ ทำให้การคัดปลอกมีปัญหาและปืนติดขัด ส่วนตัวเคยสงสัยตั้งแต่เห็นชิ้นส่วนดังกล่าวแล้วว่าเป็นลูกยาง แต่ไม่คิดว่ามันจะเสื่อมสภาพเร็วขนาดนี้(ไม่กี่ปี)

เครื่องช่วยเล็ง

กล้องเล็งสะท้อนภาพจุดแดงแบบ Mepro 21 M

1 มีความคลาดเคลื่อนสูง ที่พบคือ เมื่อยิงปรับศูนย์รบแล้ว นำไปใช้งานสมบุกสมบันสักระยะ(แต่ไม่นาน) แล้วนำกลับมายิงใหม่ มีความคลาดเคลื่อนจากเดิมค่อนข้างสูง

2 จุดแดงไม่สามารถปรับระดับความเข้มแสงได้ ทำให้การใช้งานในสภาพแสงต่างๆมีข้อจำกัด เช่น เมื่อผู้ยิงอยู่ในที่แสงน้อยแล้วเล็งยิงไปในที่ที่มีแสงสว่างกว่ามากจะมอง เห็นจุดเล็งได้ยากหรือมองไม่เห็น

3 ข้อนี้ไม่สำคัญอะไรนัก ส่วนตัวว่ากล้องเล็งมีตำแหน่งต่ำไป ด้วยความที่เป็นกล้องเล็งแบบสะท้อนภาพดังนั้นจำเป็นต้องให้จุดเล็งอยู่ตรง กลางแว่นแก้ว เมื่อกล้องเล็งต่ำ ทำให้การแนบแก้มกับพานท้ายเพื่อจัดภาพการเล็งดังกล่าวไม่ถนัด

4 ลักษณะของครอบแว่นแก้วและตัวยิงแสงไปสะท้อนที่แว่นแก้วมีพื้นที่ที่สามารถ กักเก็บน้ำและสิ่งอุดตัน(ตัวยิงแสง)ได้ ตรงนี้ต้องคอยระวังไม่เช่นนั้นจะมองไม่เห็นจุดเล็ง

5 ด้วยข้อจำกัดของปืนบูลพัพ ที่ตัวปืนสั้น ทำให้การวางศูนย์เปิดมีระยะห่างระหว่างศูนย์หน้า-หลังค่อนข้างสั้น ซึ่งจะทำให้มีความคลาดเคลื่อนในการยิงสูง ส่งผลต่อความแม่นยำ จุดนี้ทำให้ปืนบูลพัพส่วนใหญ่เลือกที่จะใช้เครื่องช่วยเล็งยิงเป็นแบบ กล้องเล็ง เป็นหลัก(เช่น SA80,AUG,SAR-21) กรณีที่ใช้ศูนย์เปิดเป็นหลักเช่น Famas ผลคือ ระยะยิงหวังผลค่อนข้างต่ำ(เพราะเครื่องช่วยเล็ง) เมื่อเทียบกับ ปลย. แบบอื่นๆในลำกล้องใกล้เคียงกัน กรณี TAR 21 ก็เช่นเดียวกัน BUIS มีระยะห่างน้อย ส่งผลต่อความแม่นยำ ตรงนี้จะเกี่ยวเนื่องถึง การซ่อมบำรุง เพราะกล้องเล็งที่มากับ TAR 21 หน่วยใช้ไม่สามารถถอดเก็บในกรณีที่ไม่จำเป็นต้องใช้งานได้ ส่งผลถึงความเปราะบางในกรณีกล้องเล็งชำรุดโดยไม่จำเป็น หากกล้องเล็งชำรุดหน่วยไม่สามารถส่งซ่อมแยกได้ นั่นหมายถึงปืนกระบอกนั้นไม่สามารถนำออกมาใช้งานได้ หรือถ้านำมาใช้โดยใช้ศูนย์เล็ง BUIS เพียงอย่างเดียวก็จะส่งผลถึงความแม่นยำ ถ้าเปรียบเทียบกับปืนทรงคลาสสิคแบบอื่น เช่น M 16 A 4,M 4 A 1 ซึ่งถ้าหากมีกล้องเล็งในลักษณะเดียวกับ Mepro 21 M ใช้งาน หน่วยสามารถถอดแยกเก็บได้ และ ถ้ากล้องชำรุดก็สามารถส่งซ่อมแยกได้ โดยที่ตัวปืนยังคงนำมาใช้งานได้โดยใช้ศูนย์เปิดและไม่ส่งผลต่อความแม่นยำ เพราะตัวปืนถูกออกแบบมาให้ใช้กับศูนย์เปิดเป็นหลักตั้งแต่แรก

กอปข้อความมาจากทหารที่เคยใช้ปืนนี้จริงในบอร์ดทหารแห่งหนึ่งครับ

ปล1.ผมเองเคยจับTAR-21ตอนเข้าค่ายรด.ปี2 ปี3 ตอนวิชาอาวุธ นี้ล่ะครับ เป็นปืนไรเฟิลที่เบามากกก ของจริงเป็นอะไรที่เท่ห์มาก

ปล2.TAR-21 รู้สึกว่าทหารของUmbrella Corporation ก็ใช้ในหนังRE4, RE5น่ะเออ (ขำๆ)

Share this post


Link to post
Share on other sites

เบาแต่ไม่ค่อยคล่องตัวอะ (บีบีกัน)

Share this post


Link to post
Share on other sites

ข้อมูลแน่น อยากจับซักครั้งจริงๆ :idz_emo08:

Share this post


Link to post
Share on other sites

Join the conversation

You can post now and register later. If you have an account, sign in now to post with your account.

Guest
Reply to this topic...

×   Pasted as rich text.   Paste as plain text instead

  Only 75 emoji are allowed.

×   Your link has been automatically embedded.   Display as a link instead

×   Your previous content has been restored.   Clear editor

×   You cannot paste images directly. Upload or insert images from URL.

Loading...
Sign in to follow this  

×
×
  • Create New...