Jump to content

Ezero

Special
  • Content Count

    508
  • Joined

  • Last visited

Everything posted by Ezero

  1. เป็นผมลุกขึ้นถีบออกนอกบ้านเบย
  2. fail เลย โดดแบบนี้ อายไปทั้งห้อง ยันจบเรียนเบย
  3. ไปคุยกับเจ้าตัวเอง ว่าอยากนั้งเปล่า
  4. เค้าชอบกินทังเนื้อและผัก
  5. แสดงว่าบ้านเจ้าอยู่ใต้ทะเลสินะ เพราะเรื่อทุกลำลงไปอยู่ก้นทะเลหมดแล้ว ยกเว้นมิสซูรี
  6. เรือประจัญบานยะมะโตะ 大和 Yamato เรือประจัญบานยะมะโตะ (ญี่ปุ่น: 大和 Yamato ?) เป็นเรือประจัญบานขนาดยักษ์ ตั้งตามชื่อ "ยะมะโตะ" ซึ่งเป็นจังหวัดโบราณในประเทศญี่ปุ่น เป็นเรือประจัญบานชั้นยะมะโตะลำแรกของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น เรือประจัญบานยะมะโตะและเรือประจัญบานมูซาชิที่อยู่ในชั้นเดียวกัน เป็นเรือประจัญบานขนาดใหญ่ที่สุดและมีอาวุธทรงประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่ญี่ปุ่นสามารถสร้างได้ ด้วยระวางขับน้ำ 72,800 ตันและปืนใหญ่ขนาดปากลำกล้อง 460 มิลลิเมตร (18 นิ้ว) ทั้งคู่จมลงในระหว่างสงคราม เรือรบลำนี้มีความหมายอันยิ่งใหญ่สำหรับจักรวรรดิญี่ปุ่นในฐานะสัญลักษณ์ด้านนาวิกานุภาพของชาติ (คำว่า "ยะมะโตะ" บางครั้งก็หมายถึงประเทศญี่ปุ่น) และถูกเรือบรรทุกเครื่องบินอเมริกันจมช่วงปลายของสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปฏิบัติการฆ่าตัวตายเท็งโง ซึ่งการจมของเรือรบยะมะโตะ บางครั้งถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของความพ่ายแพ้ของญี่ปุ่นด้วย ลักษณะเฉพาะ ชั้น: เรือประจัญบานชั้นยะมะโตะ ขนาด (ระวางขับน้ำ): 65,027 ตัน 71,659 ตัน (เต็มที่) ความยาว: 256 เมตร (แนวน้ำ) 263 เมตร (ตลอดลำ) ความกว้าง: 36.9 เมตร กินน้ำลึก: 11 เมตร เครื่องยนต์: 150,000 แรงม้า ใบจักร: • หม้อน้ำแบบคัมปง (Kampon) 12 หม้อ, ขับเคลื่อนด้วยใบจักรไอน้ำ 4 ใบ • ใบจักร 3 ใบพัด เส้นผ่านศูนย์กลาง 6 ม. ความเร็ว: 27 นอต ระยะทางเชื้อเพลิง: 7,200 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 16 นอต อัตราเต็มที่: 2,500–2,800 นาย ยุทโธปกรณ์: (1941) • 9 × 46 ซม. (18.1 นิ้ว) (3×3) • 12 x 155 มม. (6.1 นิ้ว) (4×3) • 12 × 127 มม. (5.0 นิ้ว) • 24 × 25 มม. (0.98 นิ้ว) (8×3) • 4 × 13.2 มม. (0.52 นิ้ว) AA (2×2) ยุทโธปกรณ์: (1945) • 9 × 46 ซม. (18.1 นิ้ว) (3×3) • 6 × 155 มม. (6.1 นิ้ว) (2×3) • 24 × 127 มม. (5.0 นิ้ว) • 162 × 25 มม. (0.98 นิ้ว) AA (52×3, 6×1) • 4 × 13.2 มม. (0.52 นิ้ว) AA (2×2) เกราะ: • หน้าป้อมปืนหลัก 650 มม. (26 นิ้ว) • ด้านข้าง 410 มม. (16 นิ้ว) • กลางดาดฟ้าเรือ 200 มม. (7.9 นิ้ว) (75%) • ขอบดาดฟ้าเรือ 226.5 มม. (8.92 นิ้ว) (25%) อากาศยาน: 7 อุปกรณ์สนับสนุนการบิน: เครื่องดีด 2 เครื่อง credit http://th.wikipedia....%B8%95%E0%B8%B0 ___________________________________________________________________________________________ เรือประจัญบานบิสมาร์ค Bismarck บิสมาร์ค เป็นเรือประจัญบานของเยอรมนี และหนึ่งในเรือรบที่มีชื่อเสียงที่สุดในสงครามโลกครั้งที่สอง บิสมาร์คเป็นเรือลำแรกในเรือประจัญบานชั้นบิสมาร์ค ซึ่งตั้งตามชื่อนายกรัฐมนตรีของเยอรมนีสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 ออตโต ฟอน บิสมาร์ค บิสมาร์คมีระวางขับน้ำเต็มที่ถึง 50,000 ตัน และเป็นเรือประจัญบานขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่เข้าประจำการในสมัยนั้น บิสมาร์คได้ปฏิบัติการเพียงครั้งเดียวตลอดอายุการใช้งานอันสั้นของมัน โดยจมลงในตอนเช้าของวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 ระหว่างปฏิบัติการไรนือบุง ซึ่งบิสมาร์คและเรือลาดตระเวนหนักอีกลำหนึ่งพยายามที่จะขัดขวางและทำลายขบวนเรือซึ่งแล่นระหว่างอเมริกาเหนือและสหราชอาณาจักร ขณะที่บิสมาร์คและเรือรบเยอรมันอีกลำหนึ่งกำลังพยายามที่จะแล่นออกไปยังมหาสมุทรแอตแลนติก เรือรบทั้งสองถูกค้นพบโดยกองทัพเรืออังกฤษ และถูกดึงเข้าสู่ยุทธนาวีช่องแคบเดนมาร์ก ระหว่างการรบเวลาสั้น ๆ เรือลาดตระเวนประจัญบานฮู้ด เรือธงของกองเรือหลวงและความภาคภูมิใจของกองทัพเรืออังกฤษ ถูกจมลงหลังจากถูกยิงเพียงไม่กี่นาที นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร วินสตัน เชอร์ชิลล์ ออกคำสั่ง "จมเรือบิสมาร์ค" ซึ่งกระตุ้นให้กองทัพเรืออังกฤษติดตามเรือบิสมาร์คไปอย่างไม่ลดละ สองวันถัดมา เมื่อบิสมาร์คเกือบจะไปถึงน่านน้ำที่ปลอดภัยแล้ว เครื่องบินปีกสองชั้นของกองทัพเรืออังกฤษได้ยิงตอร์ปิโดถล่มเรือและทำให้หางเสือเรือขัดของ ทำให้เรือรบหนักของอังกฤษสามารถตามทันบิสมาร์คได้ ในการรบที่เกิดขึ้นตามมาในช่วงเช้าของวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 บิสมาร์คถูกโจมตีอย่างหนักเป็นเวลานานเกือบสองชั่วโมงก่อนที่จะจมลงสู่ก้นทะเล การจมของบิสมาร์คได้รับการรายงานบนหน้าแรกของหนังสือพิมพ์หลายฉบับทั่วโลก ลักษณะเฉพาะ ชั้น: เรือประจัญบานชั้นบิสมาร์ค ขนาด (ระวางขับน้ำ): 41,700 ตัน (มาตรฐาน) 50,900 ตัน (เต็มที่) ความยาว: 251 เมตร (ตลอดลำ) 241.5 เมตร (แนวน้ำ) ความกว้าง: 36 เมตร (แนวน้ำ) กินน้ำลึก: 9.3 เมตร (มาตรฐาน) 10.2 เมตร (เต็มที่) ใบจักร: 12 Wagner high-pressure boilers; 3 Blohm & Voss geared turbines 150,170 แรงม้า 3 three-blade propellers, เส้นผ่าศูนย์กลาง 4.7 เมตร ความเร็ว: 30.1 นอตขณะทำการทดสอบ (มีบทความหนึ่งอ้างถึง 31.1 นอต) ระยะทางเชื้อเพลิง: 8,525 ไมล์ทะเลที่ 19 นอต อัตราเต็มที่: 2,092: นายทหาร 103 นาย ลูกเรือ 1,989 นาย (1941) ยุทโธปกรณ์: 8 × 380 mm/L52 SK C/34 (4×2) 12 × 150 mm/L55 SK-C/28 (6×2) 16 × 105 mm/L65 SK-C/37 / SK-C/33 (8×2) 16 × 37 mm/L83 SK-C/30 12 × 20 mm/L65 MG C/30 8 × 20 mm/L65 MG C/32 (8×4) เกราะ: กราบเรือ: 145-320 มม. ดาดฟ้า: 110-120 มม. ผนังเรือ: 220 มม. ป้อมปืน: 130-360 มม. เกราะฐานป้อม: 342 มม. หอบังคับการ: 360 มม. อากาศยาน: 4×Arado Ar 196 A-3, with 1 double-ended catapult credit http://th.wikipedia....%B9%8C%E0%B8%84 ___________________________________________________________________________________________ เรือประจัญบานมูซาชิ 武蔵 เรือประจัญบานมูซาชิ (ญี่ปุ่น: 武蔵 ) เป็นเรือประจัญบานของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง และเป็นเรือธงแห่งกองเรือผสม ได้รับการตั้งชื่อตามจังหวัดมูซาชิซึ่งเป็นชื่อจังหวัดในสมัยโบราณของญี่ปุ่น เป็นเรือลำที่สองในชั้นยามาโตะต่อจากเรือประจัญบานยามาโตะ เป็นเรือที่หนักและติดอาวุธหนักที่สุดเท่าที่เคยมีการสร้างขึ้นมา ด้วยระวางขับน้ำเต็มที่ถึง 72,800 ตันและติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 460 มม.ถึง 9 กระบอก เรือสร้างขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1938–1941 และขึ้นระวางอย่างเป็นทางการในฤดูร้อนปี ค.ศ. 1942 มูซาชิทำหน้าที่เป็นเรือธงของพลเรือเอกอิโซรกคุ ยามาโมโต้และมินีชิ โคะงะ (Mineichi Koga) ในปี ค.ศ. 1943 ตลอดปี ค.ศ. 1943 มูซาชิจอดทอดสมออยู่ในฐานทัพเรือที่ทรูก คุเระ และบรูไน แห่งใดแห่งหนึ่งขึ้นอยู่กับการโจมตีทางอากาศของสหรัฐ มูซาชิอับปางเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1944 โดยเครื่องบินจากเรือบรรทุกเครื่องบินในระหว่างยุทธนาวีอ่าวเลย์เต ลักษณะเฉพาะ ชั้น: เรือประจัญบานชั้นยามาโตะ ขนาด (ระวางขับน้ำ): 68,200 ตัน 72,800 ตัน (เต็มที่) ความยาว: 256 เมตร (แนวน้ำ) 263 เมตร (ตลอดลำ) ความกว้าง: 38.9 เมตร กินน้ำลึก: 11 เมตร เมื่อบรรทุกเต็มที่ ใบจักร: หม้อน้ำแบบคัมปง 12 หม้อ ขับกังหันไอน้ำ 4 กังหัน 150,000 แรงม้า (110 MW) ใบจักร 4 พวงแบบ 3 ใบพัดยาว 6 เมตร ความเร็ว: 27.46 นอต (50.86 กม./ชม.) ระยะทางเชื้อเพลิง: 7,200 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 16 นอต (13,000 กม.ที่ความเร็ว 30 กม./ชม.) อัตราเต็มที่: 2,399 นาย อาวุธ : สิงหาคม ค.ศ. 1942 9 × 460 มม. (18.1 นิ้ว) (3×3) 12 × 155 มม. (6.1 นิ้ว) (4×3) 12 × 127 มม. (5 นิ้ว) (6×2) 24 × 25 มม. (0.98 นิ้ว) AA Type 96 (8×3) 4 × 13 มม. (2×2) อาวุธ : ตุลาคม ค.ศ. 1944 9 × 460 มม. (18.1 นิ้ว) (3×3) 6 × 155 มม. (6.1 นิ้ว) (2×3) 12 × 127 มม. (5 นิ้ว) (6×2) 130 × 25 มม. (0.98 นิ้ว) AA Type 96 (32×3, 34×1) 4 × 13 มม. (2×2) เกราะ: หน้าป้อมปืน 650 มม. ข้างลำเรือ 410 มม. (16.1 นิ้ว) กลางดาดฟ้า 200 มม. (8 นิ้ว) ขอบดาดฟ้า 226.5 มม. (9.06 นิ้ว) อากาศยาน: เครื่องบินทุ่นลอยน้ำ 7 ลำ อุปกรณ์สนับสนุนการบิน: เครื่องดีด 2 เครื่อง credit http://th.wikipedia....%B8%8A%E0%B8%B4 ___________________________________________________________________________________________ ยูเอสเอส มิสซูรี (BB-63) ยูเอสเอส มิสซูรี (BB-63) ("ไมท์ตีโม" หรือ "บิกโม") เป็นเรือประจัญบานชั้นไอโอวาของกองทัพเรือสหรัฐ และเป็นเรือลำที่สี่ของกองทัพเรือสหรัฐที่ใช้ชื่อรัฐตามรัฐมิสซูรี มิสซูรี เป็นเรือประจัญบานลำสุดท้ายที่สร้างขึ้นโดยสหรัฐและเป็นที่เซ็นสัญญายอมจำนนของจักรวรรดิญี่ปุ่นในตอนจบของสงครามโลกครั้งที่สอง มิสซูรี สั่งต่อเรือในปี ค.ศ. 1940 และขึ้นระวางประจำการในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944 ในสมรภูมิมหาสมุทรแปซิฟิกของสงครามโลกครั้งที่สอง เรือได้เข้าร่วมการรบที่อิโวะจิมะและโอะกินะวะ และล้อมแผ่นดินแม่ญี่ปุ่น และเรือยังเข้าร่วมในสงครามเกาหลีในระหว่างปี ค.ศ. 1950 ถึง 1953 เรือปลดประจำการในปี ค.ศ. 1955 กลายเป็นกองเรือสำรองของกองทัพเรืออเมริกา แต่ได้รับการนำกลับเข้าประจำการและปรับปรุงใหม่ในปี ค.ศ. 1984 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนกองเรือ 600 และให้การยิงสนับสนุนในระหว่างปฏิบัติการพายุทะเลทรายในเดือนมกราคม / กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991 มิสซูรี ได้รับ 11 ดาวยุทธการจากการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง สงครามเกาหลี และ สงครามอ่าวเปอร์เซีย สุดท้ายเรือได้รับการปลดประจำการเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1992 แต่ยังคงชื่อไว้กองทัพเรือจนกระทั่งชื่อถูกจำหน่ายออกในเดือนมกราคม ค.ศ. 1995 ในปี ค.ศ. 1998 เรือถูกบริจาคให้กับสมาคมอนุสรณ์ ยูเอสเอส มิสซูรี และกลายเป็นพิพิธภัณฑ์เรือที่ท่าเรือเพิร์ลในรัฐฮาวาย ลักษณะเฉพาะ 1943 ชั้น: เรือประจัญบานชั้นไอโอวา ขนาด (ระวางขับน้ำ): 45,000 ตัน ความยาว: 270.4 เมตร ความกว้าง: 33 เมตร กินน้ำลึก: 8.8 เมตร ความเร็ว: 33 นอต อัตราเต็มที่: 2,700 นาย ยุทโธปกรณ์: 9 × ปืน 16 นิ้ว (410 มม.)/50 cal Mark 7 20 × ปืน 5 นิ้ว (130 มม.)/38 cal Mark 12 80 × ปืน AA 40 มม./56 cal 49 × ปืนใหญ่ AA 20 มม./70 cal เกราะ: ด้านข้าง: 12.1 นิ้ว (310 มม.) ผนังเรือ: 11.3 นิ้ว (290 มม.) เกราะฐานป้อม: 11.6-17.3 นิ้ว (290-440 มม.) ป้อมปืน: 19.7 นิ้ว (500 มม.) ดาดฟ้า: 7.5 นิ้ว (190 มม.) ลักษณะเฉพาะ 1984 อัตราเต็มที่: 1,851 นาย ระบบตรวจการและปฏิบัติการ: เรดาห์อากาศ AN/SPS-49 เรดาห์พื้นน้ำ AN/SPS-67 เรดาห์ควบคุมการยิงพื้นน้ำ AN/SPQ-9 สงครามอิเล็กทรอนิกส์และเป้าลวง: AN/SLQ-32 ระบบลวง AN/SLQ-25 Nixie 8 × จรวดแตกออกเร็ว Mark 36 SRBOC ยุทโธปกรณ์: 9 × ปืน 16 นิ้ว (410 มม.)/50 cal Mark 7 12 × ปืน 5 นิ้ว (130 มม.)/38 cal Mark 12 32 × บีจีเอ็ม-109 โทมาฮอว์ก 16 × เอจีเอ็ม-84 ฮาร์พูน ต่อต้านเรือรบ 4 × 20 มม./76 cal Phalanx CIWS credit http://th.wikipedia....0%B8%B5_(BB-63) ___________________________________________________________________________________________ เอชเอ็มเอส ปรินส์ออฟเวลส์ เอชเอ็มเอส ปรินส์ออฟเวลส์ เป็นเรือประจัญบานชั้นพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งกองทัพเรือหลวง เคยร่วมรบในการรบครั้งสำคัญในสงครามโลกครั้งที่สอง รวมไปถึงยุทธนาวีช่องแคบเดนมาร์กต่อเรือประจัญบานบิสมาร์ค ปฏิบัติการคุ้มกันขบวนเรือในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จนกระทั่งปฏิบัติการครั้งสุดท้ายและถูกจมในมหาสมุทรแปซิฟิกเมื่อปี ค.ศ. 1941 ลักษณะเฉพาะ ระวางขับนํ้า: มาตรฐาน: 36,727 ตัน เต็มที่: 43,786 ตัน ความยาวทั้งหมด 227.1 ม. 225.6 ม.(ความยาวตามระดับแนวนํ้า) ความกว้าง 34.3ม กินนํ้าลึก 10.8 ม. เครื่องจักร 8 Admiralty 3-drum small-tube boilers 4 sets Parsons geared turbines 125,000 แรงม้า ความเร็วสูงสุด 28น๊อตส์ (ปี 1941 ขณะทำการทดสอบ) ระยะทำการ 3,100 ไมล์ทะเล (27 น็อต) ลูกเรือ 1,521 นาย อาวุธประจำเรือ ปืนใหญ่ BL 14-inch (360 mm) Mark VII 10 กระบอก ปืนใหญ่ QF 5.25-inch (133 mm) Mk. I 16 กระบอก ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน QF 2 pdr 1.575-inch (40.0 mm) Mk.VIII 32 กระบอก ท่อยิงจรวดต่อสู้อากาศยาน 80 ท่อ credit http://th.wikipedia....A%E0%B9%8C_(53) ___________________________________________________________________________________________ เอชเอ็มเอส ฮู้ด เอชเอ็มเอส ฮู้ด (51) คือเรือลาดตระเวณประจัญบานที่สร้างหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งการก่อสร้างในเวลานั้นถือว่าใหญ่ที่สุดในโลก ชาวอังกฤษมีความภูมิใจในเรือลำนี้มากจนเรือลำนี้ถูกเรียกว่า " Mighty Hood" (เรือรบที่ทรงอำนาจ) ชื่อเรือนั้นถูกตั้งตาม Samuel Hood ซึ่งเป็นชื่อของนายพลเรือ เรือลำนี้ใช้รบในศึกสำคัญหลายครั้ง จนครั้งสำคัญที่สุดคือ สมัยสงครามโลกครั้งที่2ที่อังกฤษกับเยอรมันเข้าปะทะกันในยุทธนาวีช่องแคบเดนมาร์กในเดือน พฤษภาคม 1941 เรือ ฮู้ด(เรือธงกองเรือหลวงอังกฤษ)พร้อมกับเรือเอชเอ็มเอส ปรินส์ออฟเวลส์ (53)และเรืออื่นๆอีก 6 ลำ ลาดตะเวนบริเวณ แอตแลนติกเหนือได้พบเยอรมันบริเวณนั้นพอดี เรือ บิสมาร์คและ ครุยเซอร์ ได้ลั่นกระสุน โจมตีกองเรือหลวง รวมถึง เรือฮู้ดด้วย จน ไม่สามารถสู้ต่อได้จึงทำให้เรือ จมลงที่นั่น และไม่กี่นาทีต่อมา อังกฤษก็แพ้ในสงครามครั้งนี้ ลักษณะเฉพาะ ระวางขับนํ้า มาตรฐาน:41,125ตัน(ปี 1939:42,750ตัน) เต็มที่:46,880 ตัน(1939:48,650ตัน) ความยาวทั้งหมด 262.3 เมตร ความยาวตามระดับแนวนํ้า 259.2 เมตร ความกว้าง 28.9เมตร(1939 :32.0 เมตร) กินนํ้าลึก 10.2 เมตร(เมื่อบรรทุกเต็มที่) เครื่องจักร 4 shafts, Brown-Curtis geared steam turbines 24 Yarrow water-tube boilers กำลังสูงสุด 144,000 แรงม้า(ระยะแรกที่ทำการทดสอบ:151,280 แรงม้า) ความเร็วสูงสุด 29.5น๊อตส์ (ระยะแรกที่ทำการทดสอบ:32.07น๊อตส์) (1941 :28น๊อตส์) ระยะทำการ 14น๊อตส์/8,900ไมล์ทะเล การบรรทุกเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่นแบบเข้มข้น:1,200 ตัน(สำรอง)4,000 ตัน(เต็มที่) ลูกเรือ 1,341 นาย(ปี 1940:1,421นาย) อาวุธประจำเรือ (ปีที่พึ่งสร้างเสร็จ): ปืนใหญ่ BL 15-นิ้ว (Mk I guns) 8กระบอก ปืนใหญ่ BL 5.5-นิ้ว (Mk I guns)12กระบอก ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน QF 4-นิ้ว (Mark V anti-aircraft guns)4กระบอก ท่อปล่อยตอร์ปิโดขนาด 21-นิ้ว (533 mm) 6ท่อยิง ในปี 1941 : ปืนใหญ่ BL 15-นิ้ว (381 mm) (Mk I guns) 8กระบอก ปืนใหญ่ 4-นิ้ว (Mk XVI AA guns) 14กระบอก ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานขนาด 40มม (QF 2-pdr "pom pom" AA guns) 24กระบอก ปืนกลขนาด 0.5-นิ้ว (12.7มม) (Vickers machine guns) 20กระบอก ท่อยิงจรวดต่อสู้อากาศยาน 100 ท่อยิง ท่อปล่อยตอร์ปิโดขนาด 21-นิ้ว (533 mm) 4ท่อยิง เกราะ ด้านข้างตัวเรือ: 305 มม(ตามระดับแนวนํ้า)178 มม(ส่วนที่1ทางดาดฟ้าเรือข้างตัวเรือ)、25~38(หัวเรือ)、75 มม(ส่วนใต้ระดับแนวนํ้า) ดาดฟ้า: 51 มม(ดาดฟ้าเรือส่วนใหญ่)、51 มม(ส่วนใต้ระดับแนวนํ้าลงไป) ป้อมปืนหลัก: 381 มม(ทางด้านหน้า)、279~305 มม(ด้านข้าง)、178~279 มม(ด้านหลัง)、127 มม(หลังคาป้อม) ปืนใหญ่ในส่วนของบาเบต: 305 มม(ส่วนบนของดาดฟ้า)、105 มม(ส่วนล่างของดาดฟ้า) สะพานเรือ: 228~279 มม(ด้านข้าง) credit http://th.wikipedia....%B9%89%E0%B8%94 ___________________________________________________________________________________________ แถม ปฏิบัติการสะท้านโลก credit
  7. เอเอช-64 อาพาชี่ AH-64 Apache เอเอช-64 อาพาชี่ (อังกฤษ: AH-64 Apache) (มักอ่านผิดว่า อาปาเช่ ) เป็นเฮลิคอปเตอร์โจมตีสองเครื่องยนต์ สี่ใบพัด พร้อมล้อสามล้อ และห้องนักบินแบบเรียงเดียวสำหรับสองที่นั่ง อาพาชี่ถูกพัฒนาในชื่อ โมเดล 77 โดยฮิวจ์ส เฮลิคอปเตอร์สให้กับโครงการของกองทัพบกสหรัฐเพื่อแทนที่เอเอช-1 คอบรา มันได้ทำการบินครั้งแรกในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 เอเอช-64 มีจุดเด่นที่ปืนกล เอ็ม230 ขนาด 30 ม.ม. คาลิเบอร์ที่จมูกของมัน เอเอช-64 ยังใช้เอจีเอ็ม-114 เฮลไฟร์และไฮดรา 70 สี่ตำแหน่งบนปีกทั้งสองข้าง เอเอช-64 ยังมีระบบการอยู่รอดที่ดีเยี่ยมสำหรับเครื่องบินและลูกเรือในการต่อสู้ เช่นเดียวกับในกรณีที่มันตกเพื่อช่วยเหลือนักบิน กองทัพบกเลือกเอเอช-64 แทนที่จะเป็นเบลล์ วายเอเอช-63 ในปีพ.ศ. 2519 ทำให้ฮิวจ์ส เฮลิคอปเตอร์สนั้นรางวัลเป็นสัญญาในการสร้าง ในปีพ.ศ. 2525 กองทัพบกยืนยันการผลิตเต็มรูปแบบ แมคดอนเนลล์ ดักลาสยังทำการผลิตและพัฒนาต่อหลังจากที่ซื้อบริษัทฮิวจ์ส เฮลิคอปเตอร์สมาจากซัมมา คอร์เปอร์เรชั่นในปีพ.ศ. 2527 ในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 235 เอเอช-64ดี อาพาชี่ลองโบว์ลำแรกได้ทำการบินและการผลิตครั้งแรกนั้นก็ถูกส่งให้กับกองทัพบกในปีพ.ศ. 2540 ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2540 โบอิงและแมคดอนเนลล์ ดักลาสรวมเข้าด้วยกันเพื่อกลายเป็นบริษัทโบอิง คอมพานี ในปัจจุบันโบอิงได้ทำการผลิตเอเอช-64 ต่อไป รายละเอียด ผู้สร้าง บริษัท โบอิง ,แมคดอนเนลล์ ดักลาส,และฮิวส์ เครื่องยนต์ 2 ยีอี ที 700-จีอี-701ซี ให้แรงขับ 3,780 แรงม้า ยาว 15.47 เมตร สูง 4.95 เมตร กว้าง 5.23 เมตร พื้นที่ใบพัดประธาน 168.11 ตารางเมตร พื้นที่ใบพัดหาง 6.13 ตารางเมตร น้ำหนักเปล่า 5,352 กิโลกรัม น้ำหนักสูงสุด 10,107 กิโลกรัม จำนวนใบพัดหลัก 4 แฉก เพดานบินใช้งาน 6,400 เมตร เพดานบินตรวจการณ์ 4,115 เมตร ความเร็วสูงสุด 261 กิโลเมตร/ชั่วโมง รัศมีทำการ 407 กิโลเมตร อาวุธ ปืนใหญ่อากาศเอ็ม 230 เชนกัน ขนาด 30 มม. อัตรายิง 625 นัด/นาที อาวุธต่อต้านรถถัง เอจีเอ็ม 114 เฮลไฟล์ จรวดขนาด 2.75 นิ้ว อาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศขนาดเบานำวิถีด้วยอินฟราเรด credit http://th.wikipedia....%B8%B5%E0%B9%88 ___________________________________________________________________________________________ เอเอช-1 คอบรา AH-1 Cobra เอเอช-1 คอบรา (อังกฤษ: AH-1 Cobra) เป็นเฮลิคอปเตอร์จู่โจมแบบสองใบพัด หนึ่งเครื่องยนต์ที่ผลิตโดยบริษัทเบลล์ มันใช้เครื่องยนต์และระบบใบพัดแบบเดียวกันกับยูเอช-1 ไอโรควอยส์ ในบางครั้งเอเอช-1 จะหมายถึงฮิวอี้คอบราหรือสเนค เอเอช-1 เป็นกองกำลังหลักในกองบินเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพบกสหรัฐแต่ก็ถูกแทนที่โดยเอเอช-64 อาพาชี่ รุ่นที่พัฒนายังคงทำการบินต่อไปในหลายๆ ประเทศที่ใช้มัน เอเอช-1 แบบสองเครื่องยนต์ยังคงประจำการในกองนาวิกโยธินสหรัฐในฐานะเฮลิคอปเตอร์จู่โจมหลัก รายละเอียด เอเอช-1จี ฮิวอี้คอบรา ลูกเรือ 2 นาย; นักบิน 1 นักบินผู้ช่วยหรือพลปืน 1 ความยาว 13.4 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางใบพัด 13.4 เมตร ความสูง 4.1 เมตร น้ำหนักเปล่า 2,754 กิโลกรัม น้ำหนักสูงสุดตอนนำเครื่องขึ้น 4,309 กิโลกรัม ขุมกำลัง เครื่องยนต์ไลคอมมิ่ง ที53-แอล-13 เทอร์โบชาฟท์ 1 เครื่อง 1,100 แรงม้า ระบบใบพัด ใบพัดหลักสองใบ ความเร็วสูงสุด 352 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พิสัย 574 กิโลเมตร เพดานบิน 11,400 ฟุต อัตราการไต่ระดับ 1,230 ฟุตต่อนาที อาวุธ ปืนหลายลำกล้อง 7.62 ม.ม. 2 กระบอกหรือเครื่องยิงระเบิดขนาด 40 ม.ม. 2 กระบอก จรวดขนาด 2.75 นิ้ว 7 ลูกในเครื่องยิงจรวดแบบเอ็ม158 หรือ 19 ลูกในเครื่องยิงจรวดแบบเอ็ม 200 ป้อมปืนแบบเอ็ม 18 ขนาด 7.62 ม.ม. เอเอช-เอฟ "โมเดิร์นไนซ์เซด" คอบรา ลูกเรือ 2 นาย; นักบิน 1 นักบินผู้ช่วยหรือพลปืน 1 ความยาว 13.6 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางใบพัด 13.6 เมตร ความสูง 4.1 เมตร น้ำหนักเปล่า 2,993 กิโลกรัม น้ำหนักสูงสุดตอนนำเครื่องขึ้น 4,500 กิโลกรัม ขุมกำลัง เครื่องยนต์ไลคอมมิ่ง ที53-แอล-703 เทอร์โบชาฟท์ 1 เครื่อง 1,800 แรงม้า ระบบใบพัด ใบพัดหลักสองใบ ความเร็วสูงสุด 227 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พิสัย 510 กิโลเมตร เพดานบิน 12,200 ฟุต อัตราไต่ระดับ 1,620 ฟุตต่อนาที อาวุธ ปืนกลแกทลิ่งเอ็ม197 แบบสามลำกล้องขนาด 20 ม.ม. จรวดไฮดรา 70 ขนาด 2.75 นิ้ว 7 ลูกในเครื่องยิงจรวดแบบเอ็ม260 หรือ 19 ลูกในเครื่องยิงจรวดแบบเอ็ม261 ขีปนาวุธโทว์ 4 หรือ 8 ลูกในเครื่องยิงจรวดสองเครื่อง credit http://th.wikipedia....%B8%A3%E0%B8%B2 ___________________________________________________________________________________________ เอเอช-1 ซูเปอร์คอบรา Bell AH-1 SuperCobra เบลล์ เอเอช-1 ซูเปอร์คอบรา (อังกฤษ: Bell AH-1 SuperCobra) เป็นเฮลิคอปเตอร์จู่โจมแบบสองเครื่องยนต์ที่มีพื้นฐานมาจากเอเอช-1 คอบราของกองทัพบกสหรัฐ ในตระกูลคอบรายังมีเอเอช-1เจ ซีคอบรา เอเอช-1ที อิมพรูฟคอบรา และเอเอช-1ดับบลิว ซูเปอร์คอบรา เอเอช-1 ดับบลิวเป็นเฮลิคอปเตอร์หลักของกองนาวิกโยธินสหรัฐแต่จะถูกแทนที่ด้วยเอเอช-1ซี ไวเปอร์ใรทศวรรษถัดไป รายละเอียด เอเอช-1ดับลิว ซูเปอร์ คอบรา ยาว 13.6 เมตร สูง 4.1 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางใบพัดหลัก 14.6 เมตร พื้นที่ใบพัดหลัก 168.11 ตารางเมตร น้ำหนักเปล่า 2,993 กิโลกรัม น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด 4,500 กิโลกรัม เครื่องยนต์ 2 เครื่อง เจนอลรัล อีเล็คตริค ที700 เทอร์โบชาฟท์ ให้แรงขับเครื่องละ 1,680 แรงม้า จำนวนใบพัดหลัก 4 แฉก เพดานบินใช้งาน 3,720 เมตร ความเร็วสูงสุด 338 กิโลเมตร/ชั่วโมง รัศมีทำการ 587 กิโลเมตร เอเอช-1ซี ซูเปอร์ คอบรา ยาว 13.87 เมตร สูง 4.39 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางใบพัดหลัก 14.63 เมตร พื้นที่ใบพัดหลัก 168.11 ตารางเมตร น้ำหนักเปล่า 5,580 กิโลกรัม น้ำหนักสูงสุด 8,391 กิโลกรัม เครื่องยนต์ 2 เครื่อง เจนอลรัล อีเล็คตริค ที700-จีอี-401ซี ให้แรงขับเครื่องละ 1,690 แรงม้า จำนวนใบพัดหลัก 4 แฉก เพดานบินใช้งาน 4,495 เมตร ความเร็วสูงสุด 298 กิโลเมตร/ชั่วโมง รัศมีทำการ 705 กิโลเมตร credit http://th.wikipedia....%B8%A3%E0%B8%B2 ___________________________________________________________________________________________ เอเอช-1ซี ไวเปอร์ Bell AH-1Z Viper เบลล์ เอเอช-1ซี ไวเปอร์ (อังกฤษ: Bell AH-1Z Viper) (บางครั้งก็เรียก"ซูเปอร์คอบรา") เป็นเฮลิคอปเตอร์จู่โจมแบบสองเครื่องยนต์ที่มีพื้นฐานมาจากเอเอช-1ดับบลิว ซูเปอร์คอบราซึ่งถูกพัฒนาให้กับกองนาวิกโยธินสหรัฐฯ เอเอช-1ซีมีสี่ใบพัด ระบบใบพัดแบบผสม และระบบจับเป้าแบบใหม่ เอเอช-1ซีเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาเอช-1 มันยังถูกเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า"ซูลูคอบรา" รายละเอียด ลูกเรือ 2 นาย; นักบิน 1 นักบินผู้ช่วย/พบปืน 1 ปริมาณสูงสุดที่รับได้ 3,021 กิโลกรัม ความยาว 17.8 เมตร เส้นผ่าศูย์กลางใบพัด 14.6 เมตร ความสูง 4.37 เมตร น้ำหนักเปล่า 5,580 กิโลกรัม น้ำหนักสูงสุดตอนนำเครื่องขึ้น 8,390 กิโลกรัม ขุมกำลัง เครื่องยนต์เจเนรัลอิเลคทริค ที700-จีอี-401ซี เทอร์โบชาฟท์ 1,800 แรงม้าสองเครื่อง ระบบใบพัด ใบพัดหลักสี่ใบ ใบพัดหางสี่ใบ ความเร็วสูงสุด 296 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พิสัย 685 กิโลเมตร ระยะทำการต่อสู้ 231 กิโลเมตรพร้อมกระสุน 1,130 กิโลกรัม เพดานบิน 20,000 ฟุต อัตราการไต่ระดับ 2,790 ฟุตต่อนาที อาวุธ ปืนแกทลิ่งแบบเอ็ม197 สามลำกล้องขนาด 20 ม.ม. 1 กระบอกในป้อมแบบเอ/เอ49อี-7 (บรรจุกระสุน 750 นัด) จรวดไฮดรา 70 ขนาด 2.75 นิ้ว ติดตั้งในเครื่องยิงแบบแอลเอยู-68ซี/เอ 7 ลูกหรือแอลเอยู-61ดี/เอ 19 ลูก ขีปนาวุธ ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศแบบเอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์ 1 ลูกติดอยู่ที่ปลายปีกแต่ละข้าง (ทั้งหมด 2) ขีปนาวุธอากาศสู่พื้นแบบเอจีเอ็ม-114 เฮลไฟร์ 8 ลูกในเครื่องยิงขีปนาวุธแบบเอ็ม272 ชุดละ 4 ลูกมีสองชุด credit http://th.wikipedia....%B8%A3%E0%B9%8C ___________________________________________________________________________________________ ยูเอช-1 ไอโรควอยส์ UH-1 Iroquois ยูเอช-1 ไอโรควอยส์ (อังกฤษ: UH-1 Iroquois) หรือ ฮิวอี้ [1] เป็นเฮลิคอปเตอร์ทางการทหารที่มีหนึ่งเครื่องยนต์ ใบพัดหลักสองใบ และใบพัดหางสองใบ มันถูกสร้างขึ้นโดยเบลล์ เฮลิคอปเตอร์ให้กับกองทัพบกสหรัฐที่ต้องการเฮลิคอปเตอร์สำหรับขนส่งผู้บาดเจ็บในปีพ.ศ. 2495 และทำการบินครั้งแรกในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2499 การผลิตเริ่มขึ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 25 03 ยูเอช-1 เป็นเฮลิคอปเตอร์เครื่องยนต์กังหันรุ่นแรกที่เข้าสู่ระบบการผลิตให้กับกองทัพสหรัฐ และมีมากกว่า 16,000 ลำที่ถูกผลิตออกมาทั่วโลก การรบครั้งแรกของยูเอช-1 ในกองทัพสหรัฐคือสงครามเวียดนาม ด้วยชื่อเดิมคือเอชยู-1 (HU-1) ทำให้มันได้ชื่อเล่นว่า ฮิวอี้ (Huey )ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2505 มันก็เปลี่ยนไปใช้ชื่อยูเอช-1 แต่คำว่าฮิวอี้ยังคงใช้กันโดยทั่วไป มียูเอช-1 ประมาณ 7 พันลำที่ร่วมรบในสงครามเวียดนาม credit http://th.wikipedia....%B8%AA%E0%B9%8C ___________________________________________________________________________________________ ยูเอช-1เอ็น ทวินฮิวอี้ UH-1N Twin Huey ยูเอช-1เอ็น ทวินฮิวอี้ (อังกฤษ: UH-1N Twin Huey) เป็นเฮลิคอปเตอร์ทางทหารขนาดกลางซึ่งได้ทำการบินครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายนพ.ศ. 2512 ยูเอช-1 เอ็นมีที่นั่งสิบห้าที่นั่ง นักบินหนึ่งที่และที่เหลือเป็นที่นั่งของผู้โดยสาร ในแบบสำหรับการขนส่งยูเอช-1เอ็นจะมีพื้นที่บรรทุกภาย 6.23 ลูกบาศก์เมตร มันสามารถบรรทุกของภายนอกได้ 2,268 กิโลกรัม รุ่นต้นแบบนั้นมีชื่อว่าซียูเอ็น-1เอ็น (เปลี่ยนเป็นซีเอช-135 ในเวลาต่อมา) มันถูกสั่งซื้อครั้งแรกโดยแคนาดา รายละเอียด บริษัทผู้ผลิต เบลล์ เฮลิคอปเตอร์ บทบาท เฮลิคอปเตอร์หลายจุดประสงค์ ลูกเรือ 4 นาย (นักบิน นักบินผู้ช่วย หัวหน้าลูกเรือ และพลปืน) ความจุ ทหาร 6-8 นาย ความยาว 12.69 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางใบพัด 14.6 เมตร ความสูง 4.4 เมตร น้ำหนักเปล่า 2,721.5 กิโลกรัม น้ำหนักพร้อมบรรทุก 4,762.7 กิโลกรัม น้ำหนักสูงสุดตอนนำเครื่องขึ้น 4,762.7 กิโลกรัม ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โบชาฟท์แพรทท์แอนด์วิทนีย์ ที400-ซีพี-400 ของแคนาดา สองเครื่องยนต์ ให้แรงขับเครื่องละ 900 แรงม้า ความเร็วสูงสุด 220 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พิสัย 460 กิโลเมตร เพดานบินทำการ 17,300 ฟุต อัตราการไต่ระดับ 1,755 ฟุตต่อนาที อาวุธ จรวดขนาด 2.75 นิ้ว ปืนกลจีเอยู-16 .50 คาลิเบอร์ ปืนกลจีเอยู-17 ขนาด 7.62 ม.ม.หรือปืนกลน้ำหนักเบาเอ็ม240 ขนาด 7.62 ม.ม. credit http://th.wikipedia....%B8%B5%E0%B9%89 ___________________________________________________________________________________________ ยูเอช-1วาย วีนอม UH-1Y Venom ยูเอช-1วาย วีนอม (อังกฤษ: UH-1Y Venom) ของเบลล์เป็นเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางสองเครื่องยนต์ที่หลากประโยชน์ มันเป็นส่วนหนึ่งในโครงการพัฒนาเอช-1 ของกองนาวิกโยธินสหรัฐฯ ในปัจจุบันวีนอมอยู่ในการผลิตอัตราต่ำเพื่อเข้าแทนที่ยูเอช-1เอ็น ทวินฮิวอี้ของนาวิกโยธินที่มีมาตั้งแต่ต้นปีพ.ศ. 2513 เดิมทีนั้นยูเอช-1วายถูกดัดแปลงมาจากโครงสร้างของยูเอช-1เอ็น แต่ในเดือนเมษายนพ.ศ. 2548 มันก็ถูกสร้างขึ้นเป็นเฮลิคอปเตอร์แบบใหม่แทน รายละเอียด ประเทศผู้ผลิต สหรัฐอเมริกา บริษัทผู้ผลิต เบลล์ เฮลิคอปเตอร์ บทบาท เฮลิคอปเตอร์หลากจุดประสงค์ ลูกเรือ 1-2 นาย ความจุ 3,021 กิโลกรัม รวมทั้งที่นั่ง 10 ที่ เปลหาม 6 อัน ความยาว 17.78 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางใบพัด 14.88 เมตร ความสูง 4.5 เมตร น้ำหนักเปล่า 5,369 กิโลกรัม น้ำหนักสูงสุดตอนนำเครื่องขึ้น 8,390 กิโลกรัม ขุมกำลัง เครื่องยนต์เทอร์โบชาฟท์เจเนรัล อิเลคทริกที700-จีอี-401ซี 2 เครื่องยนต์ ให้แรงจับ 1,546 แรงม้า ความเร็วสูงสุด 304 กิโลเมตร/ชั่วโมง เป็นเวลา 30 นาที พิสัย 241 กิโลเมตร เพดานบินทำการ 20,000 ฟุตขึ้นไป อัตราการไต่ระดับ 2,520 ฟุต/นาที อาวุธ จรวดไฮดรา 70 ขนาด 70 ม.ม.สองตำแหน่ง ปืนกลเอ็ม240ดีขนาด 7.62 ม.ม. ปืนกลจีเอยู-16/เอ .50 หรือปืนแกทลิ่งจีเอยู-17/เอขนาด 7.62 ม.ม.สองตำแหน่ง credit http://th.wikipedia....%B8%AD%E0%B8%A1 ___________________________________________________________________________________________ มู้อืนๆ เรือหลวงจักรีนฤเบศร http://www.idoli-z.n...B8%A8%E0%B8%A3/ ยุทโธปกรณ์ ต้างๆ http://www.idoli-z.n...B8%87%E0%B9%86/ M1 Abrams http://www.idoli-z.n...5748-m1-abrams/ UH-60 Black Hawk http://www.idoli-z.n...-60-black-hawk/ F-16 Fighting Falcon http://www.idoli-z.n...ighting-falcon/ ปลย. 51 (TAR-21) กองทัพไทย http://www.idoli-z.n...B8%97%E0%B8%A2/
  8. เอ็ม61 วัลแคน (USA) (M61-Vulcan) เอ็ม61 วัลแคน (อังกฤษ: ภาษาอังกฤษ: M61 Vulcan) เป็นปืนที่ทำงานด้วยระบบไฮดรอลิก มีหกลำกล้อง ระบายความร้อนด้วยอากาศ และยิงด้วยระบบแบบปืนกลแกทลิ่งในอัตราการยิงที่สูงอย่างมาก มันเป็นปืนใหญ่หลักที่ใช้กับอากาศยานทางทหารของสหรัฐอเมริกามากว่าห้าทศวรรษ เอ็ม61 เดิมที่ถูกสร้างขึ้นโดยเจเนรัล อิเลคทริคและต่อมาก็เป็นเจเนรัล ไดนามิกส์ ในประเทศไทย กองทัพอากาศไทยรับเข้าประจำการครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2531เอ็ม61 วัลแคน ข้อมูลจำเพาะ บริษัทผู้ผลิต : เจเนรัล ไดนามิกส์ ประเทศผู้ผลิต : สหรัฐอเมริกา ประเภท : ปืนใหญ่อัตโนมัติ ใช้โดย : สหรัฐอเมริกา/นาโต้ น้ำหนัก : 112 กิโลกรัม (เอ็ม61เอ1) 91.6 กิโลกรัม (เอ็ม61เอ2) ไม่รวมสายป้อนกระสุน ความยาว : 1.88 เมตร อัตราการยิง : 6,000 นัดต่อนาที (เอ็ม61เอ1) 6,600 นัดต่อนาที (เอ็ม61เอ2) ความเร็วปากกระบอก : 3,450 ฟุตต่อวินาที (ด้วยกระสุนแบพีจียู-28/บี) ระบบป้อนกระสุน : แบบสายหรือไม่เชื่อมต่อ ใช้กับ อากาศยาน: เอฟ-104 สตาร์ไฟเตอร์ เอฟ-105 ธันเดอร์ชิฟ เอ-7ดี คอร์แซร์ 2 เอฟ-106 เดลต้า ดาร์ท(บางรุ้น) เอฟ-111 อาร์ดวาร์ค เอฟ-14 ทอมแคท เอฟ-16 ไฟท์ติ้งฟอลคอน เอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท เอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท เอฟ-22 แร็พเตอร์ เอซี-119 เอซี-130 บี-58 ฮัสท์เลอร์ บี-52 สตราโตฟอร์เทรส มิตซูบิชอ เอฟ-1 เอเอช-1จี คอบรา CREDIT http://th.wikipedia....%87%E0%B8%A1_61 ___________________________________________________________________________________________ เอไอเอ็ม-7 สแปร์โรว์ (USA) AIM-7 Sparrow เอไอเอ็ม-7 สแปร์โรว์ (อังกฤษ: AIM-7 Sparrow) เป็นขีปนาวุธอากาศสู่อากาศพิสัยกลางที่ใช้โดยกองทัพอากาศ กองทัพเรือ และกองนาวิกโยธินของสหรัฐฯ เช่นเดียวกับกองทัพอากาศของพันธมิตรอื่นๆ สแปร์โรว์และแบบต่างๆ ของมันเป็นขีปนาวุธอากาศสู่อากาศที่มีมาตั้งแต่ปลายพ.ศ. 2493 จนถึงพ.ศ. 2533 มันยังคงอยู่ในประจำการถึงแม้ว่ามันกำลังจะถูกเลิกใช้เนื่องมาจากอาวุธใหม่อย่างเอไอเอ็ม-120 แอมแรม กองกำลังติดอาวุธของญี่ปุ่นใช้ขีปนาวุธสแปร์โรว์ถึงแ้ม้ว่ากำลังจะถูกเลิกใช้และแทนที่ด้วยมิตซูบิชิ เอเอเอ็ม-4 นักบินของนาโต้ใช้รหัสว่าฟ็อกซ์ วัน (Fox One) ทางวิทยุสื่อสารเพื่อเป็นสัญญาณในการบอกการยิงขีปนาวุธแบบกึ่งติดตามด้วยเรดาร์อย่างเช่นสแปร์โรว์ ข้อมูลจำเพาะ น้ำหนัก 230 กิโลกรัม ความยาว 3.7 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 8 นิ้ว หัวรบ สะเก็ดระเบิดแรงสูง เอไอเอ็ม-7เอฟ/เอ็มใช้ 40 กิโลกรัม เครื่องยนต์ เครื่องยนต์จรวดเชื้อเพลิงแข็ง เฮอร์คิวลิส มาร์ก-58 ความยาวระหว่างปลายปีก 2 ฟุต 8 นิ้ว (เอไอเอ็ม-120เอ/บี) พิสัยปฏิบัติการ 32 กิโลเมตร (เอไอเอ็ม-7ซี/ดี) 42 กิโลเมตร (เอไอเอ็ม-7อี/อี2) 50 กิโลเมตร (เอไอเอ็ม-7เอฟ/เอ็ม) ความเร็ว 4 มัก ระบบนำวิถี เรดาร์กึ่งปฏิบัติ ใช้กับ อากาศยาน: เอฟ-4 แฟนทอม II เอฟ-15 อีเกิล เอฟ-16 ไฟท์ติ้งฟอลคอน เอฟ-14 ทอมแคท เอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท ซ้าบ 37 วิกเกน เอฟ-104 สตาร์ไฟเตอร์ พานาเวีย ทอร์นาโด เอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท มิตซูบิชิ เอฟ-2 CREDIT http://th.wikipedia....%B8%A7%E0%B9%8C ___________________________________________________________________________________________ เอไอเอ็ม-132 แอสแรม (UK) AIM-132 ASRAAM เอไอเอ็ม-132 แอสแรม (อังกฤษ: AIM-132 ASRAAM) เป็นขีปนาวุธพิสัยใกล้ที่พัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่า AIM-9L (USAF) หรือ AIM-9M (US NAVY) ซึ่งถือเป็นรุ่นที่ 4 (The Fourth Generation) สภาวะของสงครามสมัยใหม่ มีกฎเกณฑ์การสู้รบที่เข้มข้นขึ้น ต้องทำลายข้าศึกให้ได้เร็วที่สุด จึงมีการนำเอาเทคโนโลยี Imaging IR มาใช้ นับเป็นขีปนาวุธ All Aspect ความเร็วสูง แม่นยำ ยิงได้ไกล พัฒนา R-SEP (Max Seperation) เพื่อ จุดมุ่งหมาย "SHOOT FIRST KILL EARLY" ต่อต้านการลวงด้วยอินฟราเรด (IRCCM) สะท้อนสัญญาณต่ำ อังกฤษพัฒนาเพื่อใช้กับเครื่อง TONADO, F-3, HARRIER, GR-7 หาเป้าด้วยภาพ จึงไม่อาจต่อต้านด้วย Chaff หรือ Flare ได้ จึงเป็นการเพิ่มความอยู่รอดให้กับเครื่องบินขับไล่ ผลการทดสอบล่าสุด ปรากฏว่า ENVELOP เกือบเท่า AMRAAM ข้อมูลจำเพาะ น้ำหนัก 88 กิโลกรัม ความยาว 2.90 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 166 มิลลิเมตร หัวรบ 10 กิโลกรัม สะเก็ดระเบิด กลไกการจุดชนวน ชนวนเลเซอร์ เครื่องยนต์ จรวดเชื้อเพลิงแข็ง ความยาวระหว่างปลายปีก 450 มิลลิเมตร พิสัยปฏิบัติการ 300 เมตร - 18 กิโลเมตร ความสูงปฏิบัติการ N/A ความเร็ว 3+ มัค ระบบนำวิถี อินฟราเรด, ระบบ focal plane array, พร้อมล็อคเป้าหมายภายหลังยิง ใช้กับ ผู้ใช้งาน: สหราชอาณาจักร: ทอร์นาโด, ไทฟูน ออสเตรเลีย: F/A-18 CREDIT http://th.wikipedia....%B8%A3%E0%B8%A1 ___________________________________________________________________________________________ เอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์ (USA) AIM-9 Sidewinder เอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์ (อังกฤษ: AIM-9 Sidewinder) เป็นขีปนาวุธอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ติดตามความร้อน ซึ่งใช้กับ เครื่องบินขับไล่และเฮลิคอปเตอร์โจมตี แบบอื่นและการพัฒนายังคงอยู่ในประจำการในกองทัพอากาศต่างๆ หลังจากผ่านไปห้าทศวรรษ นักบินนาโต้ใช้รหัสเรียกมันว่าฟ็อกซ์ ทู (Fox Two) ซึ่งหมายถึงขีปนาวุธติดตามความร้อน ไซด์ไวน์เดอร์เป็นขีปนาวุธที่ใช้กว้างขวางที่สุดในฝั่งตะวันตก ด้วยการผลิตมากกว่า 110,000 ลูกสำหรับสหรัฐและอีก 27 ประเทศ ซึ่งอาจมีเพียง 1 % เท่านั้นที่ใช้ในการรบ มันถูกผลิตภายใต้ใบอนุญาตโดยบางชาติรวมทั้งสวีเดน เอไอเอ็ม-9 เป็นหนึ่งในขีปนาวุธอากาศสู่อากาศที่เก่าแก่ที่สุด ถูกที่สุด และประสบความสำเร็จที่สุด ด้วยคะแนนสังหารถึง 270 จากทั่วโลก มันถูกออกแบบมาเพื่อทำการพัฒนาได้โดยง่าย กล่าวกันว่าเป้าหมายของการออกแบบสำหรับไซด์ไวน์เดอร์ดั้งเดิมนั้นคือสร้างขีปนาวุธที่ไว้ใจได้และมีประสิทธิภาพ กองทัพเรือสหรัฐได้ฉลองครบรอบ 50 ปีของการใช้มันในปีพ.ศ. 2545 ไซด์ไวน์เดอร์ (sidewinder) มาจากชื่อของงูหางกระดิ่ง ซึ่งใช้อินฟราเรดในการหาความร้อนจากตัวเหยื่อ ข้อมูลจำเพาะ น้ำหนัก 91 กิโลกรัม ความยาว 2.85 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 127 ม.ม. หัวรบ ระเบิดสะเก็ดวงแหวน 9.4 กิโลกรัม กลไกการจุดชนวน พลังแม่เหล็ก (แบบเก่า) อินฟราเรดปฏิบัติ (เอไอเอ็ม-9แอลเป็นต้นไป) เครื่องยนต์ จรวดเชื้อเพลิงแข็ง ความยาวระหว่างปลายปีก 630 ม.ม. พิสัยปฏิบัติการ 1-18 กิโลกรัม ความเร็ว 2.5 มัก ระบบนำวิถี อินฟราเรด ใช้กับ อากาศยานและเฮลิคอปเตอร์ CREDIT http://th.wikipedia.org/wiki/AIM-9M ___________________________________________________________________________________________ เอไอเอ็ม-120 แอมแรม (USA) AIM-120 AMRAAM Advanced Medium-Range Air-to-Air Missile ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศก้าวหน้าพิสัยกลาง เอไอเอ็ม-120 หรือ แอมแรม (อังกฤษ: AIM-120 Advanced Medium-Range Air-to-Air Missile, AMRAAM) เป็นขีปนาวุธอากาศสู่อากาศเกินระยะตามองเห็น(BVR)รุ่นใหม่ที่สามารถใช้ได้ทั้งตอนกลางวันและกลางคืน มันยังรู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่าสแลมเมอร์ในกองทัพอากาสสหรัฐ นาโต้ใช้รหัสเรียกมันว่าฟ็อกซ์ ทรี (Fox Three) ข้อมูลจำเพาะ น้ำหนัก 152 กิโลกรัม ความยาว 3.66 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 7 นิ้ว หัวรบ สะเก็ดระเบิดแรงสูง ระเบิดสะเก็ดดับบลิวดียู-33/บี 25 กิโลกรัม (เอไอเอ็ม-120เอ/บี) ระเบิดสะเก็ด ดับบลิวดียู-41/บี 18 กิโลกรัม (เอไอเอ็ม-120ซี) กลไกการจุดชนวน อุปกรณ์ตรวจจับเป้าหมายปฏิบัติ อุปกรณ์ตรวจจับเป้าในพื้นที่ 1/4 ของวงกลม สำหรับเอไอเอ็ม-120ซี-6 เครื่องยนต์ เครื่องยนต์จรวดพลังสูง ความยาวระหว่างปลายปีก 20.7 นิ้ว (เอไอเอ็ม-120เอ/บี) พิสัยปฏิบัติการ 48 กิโลเมตร (เอไอเอ็ม-120เอ/บี) ความเร็ว 4 มัก ระบบนำวิถี เรดาร์ปฏิบัติ ใช้กับ อากาศยาน: เอวี-8 แฮร์ริเออร์ II บีเออี ซีแฮร์ริเออร์ ยูโรไฟต์เตอร์ ไทฟูน เอฟ-4 แฟนทอม II เอฟ-14 ทอมแคท เอฟ-15 อีเกิล เอฟ-15อี สไตรค์อีเกิล เอฟ-16 ไฟท์ติ้งฟอลคอน เอฟ/เอ-18 ฮอร์เน็ท เอฟ/เอ-18อี/เอฟ ซูเปอร์ฮอร์เน็ท เอฟ-22 แร็พเตอร์ เอฟ-5เอส/ที พานาเวีย ทอร์นาโด เอดีวี ซ้าบ 37 วิกเกน ยาส 39 กริพเพน เอชเอแอล เทจาส เครื่องยิงภาคพื้นดิน: นาสแอมส์ CREDIT http://th.wikipedia....%B8%A3%E0%B8%A1 ___________________________________________________________________________________________ ไอริส-ที IRIS-T Infra Red Imaging System Tail ไอริส-ที (ย่อ: IRIS-T อังกฤษ: Infra Red Imaging System Tail) เป็นขีปนาวุธนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้ ที่เยอรมันนีเป็นผู้นำในการพัฒนาร่วมกับหลายประเทศ เพื่อแทนที่ AIM-9 Sidewinder ซึ่งเป็นที่ใช้งานส่วนใหญ่ในประเทศสมาชิก นาโต้ ข้อมูลจำเพาะ น้ำหนัก 87.4 กิโลกรัม ความยาว 2,936 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 127 มิลลิเมตร หัวรบ สะเก็ดระเบิดแรงสูง กลไกการจุดชนวน การกระทบของสายชนวนบริเวณเรดาร์ เครื่องยนต์ จรวดเชื้อเพลิงแข็ง ความยาวระหว่างปลายปีก 447 มิลลิเมตร พิสัยปฏิบัติการ ~25 กิโลเมตร ความสูงปฏิบัติการ 20,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ความเร็ว 3 มัค ระบบนำวิถี อินฟราเรด ใช้กับ ผู้ใช้งาน: เยอรมนี: ไทฟูน, ทอร์นาโด, เอฟ-4 กรีซ: เอฟ-16, เอฟ-4 อิตาลี: ไทฟูน นอร์เวย์: เอฟ-16, NASAMS สวีเดน: กริพเพน ออสเตรีย: ไทฟูน สเปน: เอฟ-18, ไทฟูน แอฟริกาใต้: กริพเพน ซาอุดีอาระเบีย: ไทฟูน, ทอร์นาโด ไทย: กริพเพน, เอฟ-16 CREDIT http://th.wikipedia....%B8%97%E0%B8%B5 ___________________________________________________________________________________________
  9. ::[ เปิดฐานลับ Google Data Center ]:: ศูนย์บัญชาการใหญ่กลูเกิ้ล พบทหารโคลนเฝ้ายาม !?! Google.com ที่สุดของการค้นหาที่คนหลายพันล้านคนทั่วโลกใช้งานอยู่ในขณะนี้ คิดดูสิครับว่าภายในซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ ดาต้าเซ็นเตอร์ของ Google นั้นจะมีขนาดใหญ่โตและกินเนื้อที่ขนาดไหน และวันนี้ทางกลูเกิ้ลเปิดเผยภาพและความลับทั้งหมดด้วยการเชิญช่างภาพ Connie Zhou ที่คัดมาเป็นพิเศษถ่ายภาพและเปิดเผยให้บุคคลภายนอกได้ชม และภาพทั้งหมดจะเห็นได้ว่ามีการตกแต่งห้องGoogle Data Centers อย่างสวยงามมองแล้วคล้ายกับหน้า Si-Fi พร้อมกันสีสรรในสไตล์ของ Google ทั้งหมด แดง น้ำเงิน เหลืองเขียว Google Data Center Street View เท่านั้นยังไม่พอยังได้มีการจัดทำวีดีโอ Youtube พร้อมกับ มุมมองสตรีท วิว ภายในศูนย์บัญชาการใหญ่แห่งนี้ด้วยและที่สะดุดตาที่สุดนั้น หากสังเกตุดูดีๆ ในสตรีท วิวจะพบกับ Clone Army ทหารโคลน ในสตาร์วอร์เป็นยอมเฝ้าประตูซะอย่างนั้น ท่าทางจะเป็นความลับสุดยอดจริงๆ นะห้องนี้ ไปดูให้เห็นกับตาได้ ที่นี่ Credit : www.itallnews.com & JKG
  10. รายงานข่าวแจ้งว่า สัญญาการจำหน่ายเครื่องดื่มเป๊ปซี่ ของบริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) กับบริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด ที่จะสิ้นสุดลงในปลายเดือนตุลาคมนี้ ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2555 นี้ เสริมสุขจะเลิกผลิตเป๊ปซี่ และนับไปอีก 8 เดือนเป๊ปซี่จะขาดตลาด ทั้งนี้เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจได้นำเสนอบทความถึงการเปลี่ยนแปลงส่วนแบ่งทางการตลาด โดยทางเสริมสุขได้แจ้งร้านอาหารและร้านค้าต่างๆว่าสิ้นเดือนตุลาคมจะไม่มีเป๊ปซี่มาวางจำหน่ายอีก โดยจะนำผลิตภัณฑ์ที่เป็นแบรนด์ของเสริมสุขเองมาจำหน่ายแทน ขณะที่บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ประเทศไทย) ก็ยังไม่สามารถหาฐานการผลิตใหม่ที่จะมาผลิตน้ำอัดลมแทน บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) ได้ สำหรับเป๊ปซี่มียอดจำหน่ายเป็นอันดับ 2 ของโลก ขณะที่ในประเทศไทยนั้นมียอดจำหน่ายกว่า 70 % เอาชนะ โค้กได้แบบกินขาด Mthai News
  11. ลัมโบร์กีนี เรเบนตัน (Lamborghini Reventón เสียงอ่านภาษาสเปน: [reβenˈton]) เป็นรถสปอร์ตที่ออกตัวในช่วงปี 2007 ในงาน แฟรงค์เฟิร์ตมอเตอร์ และเป็นรถที่แพงที่สุดในงานนั้น ด้วยราคากว่า 1 ล้านยูโร หรือ กว่า 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ความเร็วสูงสุดของรถคันนี้ที่บันทึกในดูไบ คือ 356 กม./ชม. (221.2 ไมล์ต่อชั่วโมง) ลัมโบร์กีนีประกาศขายแค่ 20 คันเท่านั้นโดยทำเครื่องหมายการค้าเป็น 0/20 ส่วนคันที่ผลิตนอกเหนือจากจำนวนที่กล่าวมาจะนำไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ลัมโบร์กีนี แม้จะมีข่าวลือว่าผลิตมา 100 คันก็ตาม ภายนอกจะเป็นลักษณะสไตล์เครื่องบินขับไล่ เป็นแบบใหม่ทุกอย่างทางกลรวมทั้งเครื่องยนต์ ที่ปรับโดยตรงมาจาก ลัมโบร์กีนี มูร์เซียลาโกซึ่งผู้ออกแบบได้รับแรงบันดาลใจ จากเครื่องบินขับไล่ จึงได้มีการเปิดฉากแข่งกับเครื่องบินขับไล่ในรันเวย์ด้วยระยะทางกว่า 3 กิโลเมตร การแข่งระหว่าง Lamborghini Reventon กับเครื่องขับไล่ Tornado ลัมโบร์กีนี เรเบนตัน โรดสเตอร์ ลักษณะทั่วไปของรถ ประเภทรถสปอร์ต 2 ประตู เครื่องยนต์ V12 (12สูบ) 6.5 ลิตร อยู่ตรงส่วนกลางของตัวรถ ขับเคลื่อน 4 ล้อ อัตราเร่ง 0-100 ได้ 3.4 วินาที ความเร็วสูงสุด 340 กม./ชม. แรงม้า :650 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 660 นิวตัน/ม. เกียร์ : 6 เกียร์ ช่วงล่าง 2,655 มม. ยาว 4700 มม. กว้าง 2508 มม. สูง 1135 มม. ปรับมาจาก Murciélago LP640 (มูร์เซียลาโก แอล พี 640) แถม CREDIT http://th.wikipedia....%B8%B1%E0%B8%99 และ รูป ภาพ จาก google
  12. เรือหลวงจักรีนฤเบศร (อังกฤษ: HTMS Chakri Naruebet) เป็นเรือธงและเรือบรรทุกอากาศยานลำแรกและลำเดียวของราชนาวีไทย ประจำการในส่วนกำลังรบของกองทัพเรือ เป็นเรือที่ต่อขึ้นจากประเทศสเปน โดยนำแบบมาจากเรือ ปรินซีเปเดอัสตูเรียส (Principe de Asturias) ของกองทัพเรือสเปน โดยปรับปรุงระบบขับเคลื่อน ระบบควบคุมการบิน ระบบอาวุธ และลดระวางขับน้ำลงเหลือสองในสาม ขึ้นระวางประจำการเมื่อ วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2540 ได้ใช้งานปฏิบัติภารกิจด้านยุทธการและช่วยเหลือภัยพิบัติตลอดน่านน้ำไทยทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน ภาพเปรียบเทียบเรือหลวงจักรีนฤเบศร (ขวา) กับเรือปรินซีเปเดอัสตูเรียส (ซ้าย) ประวัติ ในปี พ.ศ. 2532 ได้เกิดพายุไต้ฝุ่นเกย์ในอ่าวไทยบริเวณจังหวัดชุมพร กองทัพเรือได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล ซึ่งทางกองทัพได้ใช้เรือและอากาศยานในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย แต่ประสบปัญหาคือเรือขนาดใหญ่ที่สุดที่กองทัพเรือมีอยู่ขณะนั้นไม่สามารถทนสภาพทะเลได้ ทำให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยกระทำได้ด้วยความยากลำบาก การมีเรือขนาดใหญ่พร้อมอุปกรณ์ทันสมัยจะสามารถใช้ในการค้นหาและให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเลได้อย่างรวดเร็วและทันการ และหากว่ามีเฮลิคอปเตอร์ประจำการบนเรือจะช่วยขยายพื้นที่ในการลาดตระเวนและระยะเวลาในการปฏิบัติการในทะเลได้เป็นเวลานานและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กองทัพเรือจึงได้มีแนวความคิด ในการสร้างเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เพื่อให้สามารถบรรลุภารกิจตามความมุ่งหมาย เดิมรัฐบาลไทยได้วางแผนจัดซื้อเรือบัญชาการสนับสนุนการยกพลขึ้นบก ขนาดระวาง 7,800 ตันจากบริษัทเบรเมอร์ วัลแคนของเยอรมนี แต่ได้ทำการยกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 และทำการจัดซื้อใหม่จากบริษัทบาซาน ประเทศสเปน ซึ่งเป็นผู้ออกแบบและต่อเรือปรินซีเปเดอัสตูเรียส เรือธงของกองทัพเรือสเปนในขณะนั้น คณะรัฐมนตรีของไทยได้มีมติเมื่อ 17 มีนาคม พ.ศ. 2535 อนุมัติให้กองทัพเรือว่าจ้างสร้างเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ในลักษณะรัฐบาลต่อรัฐบาล ลงนามโดยรัฐบาลไทยและรัฐบาลสเปนในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2535 เป็นเงิน 7,100 ล้านบาท เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้เริ่มสร้างในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2536 และมีการวางกระดูกงูในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2539 โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเสด็จไปทำพิธี ได้มีการทดลองแล่นเรือตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2539-เดือนมกราคม พ.ศ. 2540 ร่วมกับกองทัพเรือสเปนที่โรต้า (Rota) ประเทศสเปน รับมอบเรือและขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2540 โดยมีพลเรือเอก วิจิตร ชำนาญการณ์ เป็นผู้รับมอบ เรือได้รับหมายเลข 911 และเดินทางถึงประเทศไทยในต้นเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน เรือได้เข้าประจำการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2540 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาทรงเจิมเรือหลวงจักรีนฤเบศรเพื่อความเป็นสิริมงคล กองทัพเรือได้ขอพระราชทานชื่อเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ลำนี้ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่กองทัพเรือและเป็นขวัญกำลังใจแก่กำลังพลประจำเรือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อเรือหลวงลำนี้ว่า เรือหลวงจักรีนฤเบศร แปลว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งราชวงศ์จักรี และใช้คำขวัญว่า ครองเวหา ครองนที จักรีนฤเบศร เรือหลวงจักรีนฤเบศรขึ้นระวางประจำการสังกัดกองเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ โดยมีนาวาเอกสุรศักดิ์ พุ่มพวง เป็นผู้บังคับการเรือ ปัจจุบันมีนาวาเอกอนิรุธ สวัสดี เป็นผู้บังคับการเรือ ลักษณะจำเพาะ เรือหลวงจักรีนฤเบศรเป็นเรือบรรทุกอากาศยานขนาดเล็กที่สุดในโลก นำแบบแผนมาจากเรือ ปรินซีเปเดอัสตูเรียส ของกองทัพเรือสเปนซึ่งพัฒนามาจากแบบแผนเรือควบคุมทะเล (Sea Control Ship - SCS) ของกองทัพเรือสหรัฐ โดยลดระวางขับน้ำลง มีระวางขับน้ำเต็มที่ 11,544 ตัน มีความยาวตลอดลำ 182.6 เมตร ความยาวที่แนวน้ำ 164.1 เมตร ความกว้างกลางลำที่แนวน้ำ 22.5 เมตร ความกว้างดาดฟ้าบิน 30.5 เมตร ความสูงถึงดาดฟ้าบิน 18.5 เมตร ความสูงยอดเสา 42 เมตร และกินน้ำลึกเต็มที่ 6.2 เมตร ตัวเรือถึงฐานเรดาห์สร้างด้วยเหล็กเหนียว (Mild steel) พื้นดาดฟ้าบินสร้างด้วยเหล็กกล้าแรงดึงสูง (High Tensile Steel) และเสากระโดงเรือสร้างด้วยอะลูมิเนียมอัลลอยด์ กำลังพลประจำเรือประกอบด้วยนายทหาร 42 นาย พันจ่า 69 นาย จ่า 230 นาย พลทหาร 110 นาย และทหารประจำหน่วยบิน 146 นาย เรือหลวงจักรีนฤเบศรขับเคลื่อนด้วยระบบเครื่องยนต์ผสมพลังงานดีเซลหรือแก๊ส (CODOG) แต่ละระบบเชื่อมต่อกับใบจักร 4 ใบ/พวงแบบปรับพิทช์ได้ ทั้งเครื่องยนต์ดีเซล Bazán-MTU 16V1163 TB83 ( 5,600 แรงม้าที่ความเร็วลาดตระเวน) และเครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ GE LM2500 (22,125 แรงม้า ใช้เมื่อต้องการเร่งสู่ความเร็วสูงสุดในระยะเวลาสั้นๆ) มีจำนวนอย่างละ 2 เครื่องยนต์ เรือหลวงจักรีนฤเบศรมีความเร็วสูงสุด 27 นอต แม้ว่าเรือจะทำความเร็วได้ที่ 17.2 นอตเมื่อใช้เครื่องยนต์ดีเซลเพียงอย่างเดียว เรือมีระยะทำการ 10,000 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 12 นอตและ7,150 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 16.5 นอต อาวุธและอากาศยาน เรือหลวงจักรีนฤเบศรติดตั้งอาวุธปืน 20 มม. จำนวน 4 แท่นยิง และอาวุธปล่อยนำวิถีป้องกันตนเองระยะประชิดชนิดพื้นสู่อากาศแบบแซดเรล (SADRAL) 3 แท่นยิง ใช้ลูกอาวุธปล่อยเป็นจรวดนำวิถีมิสทราล (Mistral) ซึ่งเป็นแบบนำวิถีเข้าสู่เป้าด้วยตนเองอาวุธปล่อยนำวิถีถูกติดตั้งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้งระบบปล่อยอาวุธทางดิ่ง Mark 41 แบบ 8 ท่อยิงสำหรับยิงจรวดซีสแปร์โรว (Sea Sparrow) และระบบป้องกันระยะประชิดฟารังซ์ (Phalanx) อีก 4 แท่นยิง เมื่อเข้าประจำการ เรือหลวงจักรีนฤเบศรได้รับเครื่องฮ็อคเกอร์-ซิดเดลี่ย์ แฮริเออร์ เอวี-8เอส (ที่นั่งเดี่ยว) และ ทีเอวี-8เอส (สองที่นั่ง) มือสองจากกองทัพเรือสเปนเข้าประจำการจำนวน 9 ลำ ปัจจุบันประสบปัญหาการดูแลรักษาและขาดแคลนอะไหล่ ปลดประจำการหมดแล้วทั้ง 9 ลำ และยังมีเฮลิคอปเตอร์ซี ฮอร์ก เอส-70บี จำนวน 6 เครื่อง เรือหลวงจักรีนฤเบศรมีความสามารถบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ 14 ลำ เช่น ไซคอร์สกี ซี คิง, ไซคอร์สกี เอส-76 และ ซีเอช-47 ชีนุก หรือเครื่องบินขึ้นลงทางดิ่ง 12 ลำ มีโรงเก็บขนาด 2,125 ตารางเมตร สามารถเก็บอากาศยานได้ 10 ลำ มีดาดฟ้าบินขนาด 174.6 กว้าง 27.5 เมตร และมีสถานีรับ-ส่งน้ำมันเชื้อเพลิงและสถานีจ่ายกระแสไฟฟ้าไว้บริการแก่อากาศยานที่นำเครื่องจอดลงบนดาดฟ้า ซึ่งดาดฟ้าบินนี้สามารถรับ-ส่งเฮลิคอปเตอร์ได้ทุกประเภท โดยน้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุดระหว่าง 7,000-136,000 กิโลกรัม กรณีเป็นเฮลิคอปเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น ชีนุก สามารถรับส่งได้ที่จุดรับ-ส่งที่ 4 เท่านั้น โดยการรับ-ส่งเฮลิคอปเตอร์นั้นสามารถรับ-ส่งได้ 5 เครื่องพร้อมกันมีสกีจั๊ม 12° สำหรับให้เครื่องแฮริเออร์ขึ้นบิน มีลิฟท์สำหรับอากาศยาน 2 ตัวแต่ละตัวรับน้ำหนักได้ 20 ตัน และมีลิฟต์ลำเลียงสรรพาวุธอีก 2 ตัว ระบบตรวจการและตอบโต้ ระบบตรวจการของเรือหลวงจักรีนฤเบศรประกอบไปด้วยเรดาร์อากาศ Hughes SPS-52C ย่านคลื่นความถี่ E/F และเรดาร์นำร่อง Kelvin-Hughes 1007 จำนวน 2 เครื่อง มีการเตรียมการที่จะติดตั้งเรดาร์ผิวน้ำ SPS-64 และโซนาร์ใต้ท้องเรือ แต่จนกระทั่งปี พ.ศ. 2551 ก็ยังไม่มีการติดตั้ง ส่วนควบคุมการยิงก็ยังไม่ได้ติดตั้งด้วยเช่นกัน เรือยังติดตั้งเครื่องยิงเป้าลวง SBROC 4 เครื่องและเป้าลวงลากท้าย SLQ-32 ข้อมูล ประเภท: เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ขนาด (ระวางขับน้ำ): เต็มที่ 11,544 ตัน ความยาว: 182.6 เมตร (ตลอดลำ) 174.1 เมตร (ดาดฟ้าบิน) 164.1 เมตร (แนวน้ำ) ความกว้าง: 22.5 เมตร (แนวน้ำ) 30.5 เมตร (สูงสุด) กินน้ำลึก: 6.2 เมตร เครื่องยนต์: • เครื่องยนต์ดีเซล Bazán-MTU 16V1163 TB83 จำนวน 2 เครื่อง กำลัง 11,780 แรงม้า • เครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ GE LM2500 จำนวน 2 เครื่อง กำลัง 44,250 แรงม้า ใบจักร: • เพลาใบจักร จำนวน 2 เพลา • ใบจักรแบบปรับมุมใบจักรได้ จำนวน 4 ใบ/พวง ความเร็ว: • 27 นอต (สูงสุด) • 12 นอต (มัธยัสต์) ระยะทางเชื้อเพลิง: • 10,000 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 12 นอต • 7,150 ไมล์ทะเลที่ความเร็ว 16.5 นอต ลูกเรือ: • ทหารประจำเรือ 451 คน • ทหารประจำหน่วยบิน 146 คน ระบบตรวจการและปฏิบัติการ: • เรดาร์อากาศ Hughes SPS-52C, ย่านคลื่น E/F • เรดาร์นำร่อง Kelvin-Hughes 1007 จำนวน 2 เครื่อง สงครามอิเล็กทรอนิกส์และเป้าลวง: • เครื่องยิงเป้าลวง SBROC 4 เครื่อง • เป้าลวงลากท้าย SLQ-32 ยุทโธปกรณ์: • อาวุธปืน 20 มม. จำนวน 4 แท่นยิง • SADRAL จำนวน 3 แท่นยิง อากาศยาน: • เครื่องบินขึ้น-ลงทางดิ่งแฮริเออร์ AV-8S (บขล.1) 9 เครื่อง (ปลดประจำการ) • เฮลิคอปเตอร์ SEA HAWK S-70B (ฮ.ปด.1) 6 เครื่อง อุปกรณ์สนับสนุนการบิน: • ดาดฟ้าบิน 174.6 x 27.5 ม. • สกีจั๊ม 12° • โรงเก็บสำหรับเครื่องบิน 10 ลำ CREDIT http://th.wikipedia....%B8%A8%E0%B8%A3
  13. โทรคมนาคมโลก เล็งออกกฎใหม่ คลิกเข้าเน็ตทุกครั้งต้องจ่ายตังค์ เว็บไซต์เดลินิวส์ออนไลน์ ได้รายงานข่าวแจ้งว่า ในช่วงปลายปีนี้ (2555) ประเทศสมาชิกสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) ราว 180 ประเทศ (รวมไทยที่เป็นสมาชิกร่วมอยู่ด้วย) เตรียมที่จะมีการลงนามสนธิสัญญาการบริหารเครือข่ายโทรคมนาคมของโลก หรืออินเทอร์เน็ต เทเลคอมมูนิเคชั่น เร็กกูเรชั่น เพื่อแก้ไขกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตใหม่ (Internet Telecommunication Regulation : ITR) โดยการแก้ไขสนธิสัญญาดังกล่าวได้เสนอให้มีการเรียกเก็บเงินจากผู้ให้บริการ และผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต กล่าวคือ เมื่อใดที่มีการคลิกเข้าไปดูเนื้อหา ทั้งผู้ให้บริการ และผู้ใช้บริการต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าชมด้วย ทั้งนี้เมื่อข่าวดังกล่าวได้แพร่สะพัดออกไปก็ทำให้มีนักวิชาการและผู้เกี่ยวข้องจากหลายหน่วยงาน ไม่เห็นด้วยกับมาตราการดังกล่าว และเรียกร้องให้ผู้เกี่ยวข้องทั้ง กสทช.,ไอซีที ที่มีอำนาจลงนามในสนธิสัญญา ออกมาแสดงจุดยืนที่ชัดเจนว่าไทยคิดอย่างไร กับเนื้อหาของสนธิสัญญาดังกล่าว ก่อนที่จะมีการลงนามในช่วงเดือนธันวาคมนี้ เพื่อผลประโยชน์ของคนไทยที่จะได้รับสูงสุด โดยนางสาวดวงทิพย์ โฉมปรางค์ ผู้บริหาร อินเทอร์เน็ต โซไซตี้ ประเทศไทย (ไอซอก) ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิก ที่เป็นองค์กรอิสระซึ่งดูแลเกี่ยวกับมาตรฐานอินเทอร์เน็ตโลก กล่าวว่า หากกลุ่มโทรคมนาคมโลก เห็นพ้องและตกลงเซ็นต์สนธิสัญญาฉบับดังกล่าวจริง ก็จะทำให้หลายประเทศรวมทั้งไทยเสียประโยชน์ เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะสถาบันการศึกษา และนักเรียน-นักศึกษา ก็จะต้องจ่ายค่าบริการจากการคลิกดูเนื้อหาเพิ่มขึ้น ขณะที่ ดร.มนู อรดีดลเชษฐ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ (เอทีซีไอ) และนายบุญรักษ์ สรัคคานนท์ กรรมการสมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ (เอทีซีไอ) กล่าวว่า หากมาตราการดังกล่าวออกมาจริง จะส่งผลกระทบในประเทศไทยเป็นวงกว้างแน่นอน โดยเฉพาะ นโยบายของรัฐบาลในโครงการแท็บเล็ต ป.1 และจะทำให้การใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทยประมาณ 24ล้านคนต้องหยุดชะงักไปโดยปริยาย อ้างอิง : MThai ที่มา : IT PLAZA และ : jokergameth
  14. ยูเอช-60 แบล็คฮอว์ค (อังกฤษ: UH-60 Black Hawk) เป็นเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ในกองทัพไทยเรียกว่า ฮ.ท.60 ผลิตโดยบริษัทซิคอร์สกี้ แอร์คราฟท์ประเทศสหรัฐอเมริกา มันถูกใช้ในภารกิจลำเลียงทหารครั้งละ 11-15 นาย แบล็คฮอว์คเป็นเฮลิคอปเตอร์สี่ใบพัด สองเครื่องยนต์ที่ผลิตโดยซิคอร์สกี้ แอร์คราฟท์ ซิคอสกี้เสนอการออกแบบเอส-70 ให้กับการแข่งขันในระบบอากาศยานขนส่งยุทธวิธีสารพัดประโยชน์ของกองทัพบกสหรัฐฯ ในปีพ.ศ. 2515 กองทัพบกได้ตั้งชื่อให้กับต้นแบบว่าวายยูเอช-60เอและได้เลือกแบล็คฮอว์คให้เป็นผู้ชนะของโครงการในปีพ.ศ. 2519 หลังจากการแข่งขันกับวายยูเอช-61 ของโบอิง เวอร์ทอล ยูเอช-60เอเข้าประจำการในกองทัพบกในปีพ.ศ. 2522 เพื่อเข้าแทนที่ยูเอช-1ไอโรควอยส์ในฐานะเฮลิคอปเตอร์ขนส่งทางยุทธวิธี การพัฒนา ในปลายปีพ.ศ. 2503 กองทัพบกสหรัฐฯ ได้เริ่มตั้งความต้องการในเฮลิคอปเตอร์ขนส่งทางยุทธวิธีเพื่อมาแทนที่ยูเอช-1 ไอโรควอยส์โดยอาศัยจากสิ่งที่เจอมาในสงครามเวียดนาม กองทัพบกยังได้เริ่มการพัฒนาเครื่องยนต์แบบใหม่ให้กับเฮลิคอปเตอร์ซึ่งจะกลายมาเป็นเจเนรัล อิลเลคทริค ที700 กองทัพบกต้องการการพัฒนาในการทำงานที่ยอดเยี่ยม ความทนทาน และความไว้ใจได้กองทัพบกทำการร้องขอข้อเสนอสำหรับเฮลิคอปเตอร์ดังกล่าวในเดือนมกราคมพ.ศ. 2515 ต้นแบบสี่ลำถูกสร้างขึ้นมา ลำแรกคือวายยูเอช-60เอทำการบินในเดือนตุลาคมพ.ศ. 2517 และถูกประเมินเทียบกับแบบของโบอิง เวอร์ทอล ก่อนการส่งต้นแบบให้กับกองทัพบกสหรัฐฯ การประเมินขั้นต้นเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนพ.ศ. 2518 เพื่อทำให้แน่ใจว่าเครื่องบินนั้นสามารถทำงานอย่างปลอดภัยขณะทำการทดสอบ ต้นแบบทั้งสามถูกส่งให้กับกองทัพบกในเดือนมีนาคมพ.ศ. 2519 และอีกหนึ่งถูกเก็บไว้โดยซิคอร์สกี้สำหรับการวิจัยภายใน แบล็คฮอว์คถูกเลือกเข้าสู่การผลิตในเดือนธันวาคมพ.ศ. 2519 การขนส่งยูเอช-60เอให้กับกองทัพสหรัฐฯ เริ่มขึ้นในเดือนตุลาคมพ.ศ. 2521 และเฮลิคอปเตอร์ได้เข้าประจำการในเดือนมิถุนายนพ.ศ. 2522 ในปลายปีพ.ศ. 2523 รุ่นได้ถูกพัฒนาเป็นยูเอช-60แอลซึ่งมีจุดเด่นในเรื่องกำลังที่มากกว่าด้วยเครื่องยนต์ใหม การผลิตในปัจจุบันคือรุ่นยูเอช-60เอ็มจะถูกขยายระยะการใช้งานของแบบยูเอช-60 ไปจนถึงปีพ.ศ. 2563 โดยมีจุดเด่นที่ยังคงเป็นกำลังและการยกที่มากขึ้น ระบบควบคุมการบินและควบคุมการนำร่องแบบใหม่ การออกแบบ เฮลิคอปเตอร์แบล็คฮอว์คสามารถทำภารกิจได้อย่างหลากหลายที่รวมทั้งการขนส่งทหาร สงครามอิเลคทรอนิก และการอพยพทางอากาศ รุ่นที่ออกแบบมาเพื่อบุคคลสำคัญมีชื่อว่าวีเอช-60เอ็นถูกใช้เพื่อขนส่งบุคคลที่สำคัญของรัฐบาลและเฮลิคอปเตอร์ที่ถูกเรียกว่า"มารีน วัน"ที่มีไว้สำหรับประธานาธิบดีสหรัฐฯในปฏิบัติการจู่โจมทางอากาศมันจะสามารถเคลื่อนย้ายทหารได้ 11 นายพร้อมอุปกรณ์หรือเปลี่ยนตำแหน่งของปืนใหญ่เอ็ม102 ฮาวไอเซอร์ขนาด 105 ม.ม.พร้อมกระสุน 30 นัดและลูกเรืออีกสี่นายได้ภายในครั้งเดียว อีกอย่างหนึ่งคือมันสามารถบรรทุกสินค้าได้ 1,170 กิโลกรัมหรือขนสินค้าแบบห้อยได้ 4,050 กิโลกรัม แบล็คฮอว์คติดตั้งระบบอิเลคทรอนิกอากาศที่ก้าวหน้าและที่ทั้งที่เพิ่มความทนทานและความสามารถอย่างระบบจีพีเอส ยูเอช-60 สามารถติดตั้งปีกที่ด้านบนของลำตัวเพื่อบรรทุกถังเชื้อเพลิงหรืออาวุธ ระบบปีกนี้ถูกเรียกว่าอีเอสเอสเอส (external stores support system) มันจะมีที่ติดตั้งสองตำแหน่งบนแต่ละปีกเพื่อบรรทุกถังขนาด 870 ลิตรสองถังและถังขนาด 1,700 ลิตรสองถัง อีเอสเอสเอสยังสามารถบรรทุกอาวุธอย่างจรวด ขีปนาวุธ และแท่นปืนได้ 4,500 กิโลกรัม ระบบดังกล่าวเข้าประจำการในปีพ.ศ. 2529 อย่างไรก็ตามก็พบว่าถังทั้งสี่จะบดบังมุมการยิงของปืนที่บริเวณประตู เพื่อลดปัญหาระบบถังภายนอกหรืออีทีเอส (external tank system) พร้อมปีกที่จะบรรทุกพวกมันจึงถูกสร้างขึ้นมา ราคานั้นขึ้นอยู่กับแต่ละแบบเนื่องมาจากความพิเศษ อุปกรณ์ และปริมาณของมัน ตัวอย่างเช่น ยูเอช-60แอล แบล็คฮอว์คของกองทัพบกสหรัฐฯ มีราคา 5.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่เอ็มเอช-60จี เพฟฮอว์คของกองทัพอากาศมีราคา 10.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประวัติการใช้งาน สหรัฐอเมริกา ยูเอช-60 ได้เข้าประจำการครั้งแรกพร้อมกับกองพลขนส่งทางอากาศที่ 101 ของสหรัฐฯ ในปีพ.ศ. 2522 ยูเอช-60 ได้เข้าร่วมรบครั้งแรกในการบุกเกรนาด้าของสหรัฐฯ เมื่อปีพ.ศ. 2526 ยูเอช-60 ยังได้ทำหน้าที่ในการบุกปานามาของสหรัฐฯ เมื่อปีพ.ศ. 2532 อีกด้วย ยูเอช-60เอและยูเอช-60แอล แบล็คฮอว์คได้มีส่วนร่วมในสงครามอ่าวเมื่อปีพ.ศ. 2534 ในปีพ.ศ. 2536 แบล็คฮอว์คได้สร้างชื่อเสียงในยุทธการโมกาดิชูในโซมาเลีย แบล็คฮอว์คยังได้ทำหน้าที่ในบอลข่านและเฮติเมื่อปีพ.ศ. 2533 แบล็คฮอว์คยังคงทำหน้าที่ของมันต่อไปในอัฟกานิสถานและอิรัก โคลัมเบีย โคลัมเบียได้รับยูเอช-60 ลำแรกจากสหรัฐอเมริกาเมื่อปีพ.ศ. 2530 กองทัพบกโคลัมเบีย กองทัพอากาศโคลัมเบีย และสำนักงานตำรวจโคลัมเบียใช้ยูเอช-60 เพื่อเคลื่อนย้ายทหารและเสบียงไปยังที่ที่ยากจะเข้าถึงจากทางบก อย่างการเข้าต่อต้านพวกค้ายาเสพติดและกลุ่มกองโจร นอกจากนี้ก็ยังใช้เพื่อการค้นหาและกู้ภัยและการเคลื่อนย้ายทางการแพทย์อีกด้วย โคลัมเบียยังได้ดัดแปลงให้มันเป็นยูเอช-60 แบบติดอาวุธที่มีปีก อิสราเอล กองทัพอากาศอิสราเอลได้รับยูเอช-60เอ 10 ลำจากสหรัฐเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2537 มันมีชื่อเล่นว่า Yanshuf ซึ่งแปลว่านกฮูก ยูเอช-60เอเริ่มเข้ามาแทนที่เบลล์ 212 ของกองกำลังป้องกันอิสราเอล อิสราเอลใช้ยูเอช-60 ทำการรบครั้งแรกในเดือนเมษายน พ.ศ. 2529 เพื่อต่อต้านกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในทางเหนือของเลบานอน ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2543 ยูเอช-60 สามลำของกองทัพอากาศอิสราเอลถูกใช้เพื่อเป็นพาหนะของประสันตะปะปาจอห์น พอลที่ 3 เมื่อท่านมาเยือนอิสราเอล อิสราเอลมียูเอช-60 46 ลำเมื่อปีพ.ศ. 2551 เม็กซิโก กองทัพอากาศเม็กซิโกได้รับยูเอช-60 เมื่อปีพ.ศ. 2537 ใช้เพื่อขนย้ายกองกำลังพิเศษ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 สหรัฐได้กล่าวว่าจะมอบเฮลิคอปเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆ ให้กับเม็กซิโกเพื่อใช้ต่อสู้กับขบวนการยาเสพติดในสงครามยาเสพติดของเม็กซิโก ในเดือนกรกฎาคมและเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 ตำรวจกลางของเม็กซิโกได้ใช้ยูเอช-60 ในการเจ้าโจมตีการส่งยาเสพติด ตุรกี ตุรกีได้ใช้ยูเอช-60 ในช่วงการสนับสนุนนาโต้ในอัฟกานิสถานและคาบสมุทรบอลข่าน ยูเอช-60 ยังถูกใช้โดยรัฐบาลเพื่อจัดการกับกลุ่มชาวเคิร์ดที่สร้างความรุนแรงตามแนวชายแดนอิรัก แบล็กฮอว์กเป็นเฮลิคอปเตอร์ที่ทางตุรกีใช้มันอย่างกว้างขวาง ตุรกีเองทำโครงการที่พยายามจะสร้างเฮลิคอปเตอร์ของตนเองจำนวน 109 ลำ ประเทศอื่นๆ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ร้องขอยูเอช-60เอ็ม 14 ลำผ่านทางการขายระหว่างประเทศ ในแพ็คเกจมีทั้งเลเซอร์และเรดาร์เตือนภัยเช่นเดียวกับระบบอาวุธ รุ่นต่างๆ ยูเอช-60 มีแบบมากมายแตกต่างกันไป กองทัพบกสหรัฐจะใช้รุ่นที่มีปีกติดอยู่ด้วยเพื่อบรรทุกถังเชื้อเพลิงหรืออาวุธเสริม แบบต่างๆ นั้นจะมีความสามารถแตกต่างกันไปและอุปกรณ์เฉพาะเพื่อทำหน้าที่แตกต่างกันไป ทั้วไป ยูเอช-60เอ แบล็กฮอว์ก เป็นรุ่นดั้งเดิมของกองทัพบกสหรัฐที่มีลูกเรือทั้งหมด 4 นาย และผู้โดยสารได้ 11 คน โดยมีเครื่องยนต์ ที700-จีอี-700 เป็นขุมกำลัง มันเริ่มทำการผลิตตั้งแต่ปีพ.ศ. 2520-2532 ยูเอช-60ซี แบล็กฮอว์ก เป็นรุ่นดัดแปลงสำหรับภารกิจซี2 ซีเอช-60อี เป็นรุ่นที่มีจุดประสงค์ในการขนย้ายทหารของนาวิกโยธินสหรัฐ ยูเอช-60แอล แบล็กฮอว์ก เป็นรุ่นเอที่มีเครื่องยนต์ที700-จีอี-701ซี มีกระปุกเกียร์ที่ทนทานและระบบควบคุมการบินที่ทันสมัย มัน ถูกผลิตตั้งแต่ปีพ.ศ. 2532-2550 ยูเอช-60เอ็ม แบล็กฮอว์ก เป็นรุ่นพัฒนาที่มีใบพัดพิเศษพร้อมเครื่องยนต์ที700-จีอี-701ดีโดยให้กำลังสูงสุด 2,000 แรงม้า มันมี กระปุกเกียร์ที่ทนทาน คอมพิวเตอร์ระบบจัดการยานพาหนะร่วม และห้องนักบินที่มีอุปกรณ์แบบใหม่ มันเริ่ม ทำการผลิตตั้งแต่ปีพ.ศ. 2549 สหรัฐมีแผนที่จะใช้รุ่นนี้แทนที่รุ่งดั้งเดิม รุ่นพิเศษ อีเอช-60เอ แบล็กฮอว์ก เป็นรุ่นที่มีระบบไฟฟ้าที่ก้าวหน้าและสถานีสำหรับระบบอิเลคทรอนิกสองสถานี วายอีเอช-60บี แบล็กฮอว์ก เป็นรุ่นเอที่ดัดแปลงเพื่อใช้เรดาร์และระบบอิเลคทรอนิกอากาศพิเศษ เป็นรุ่นต้นแบบในการใช้ระบบ ล็อกเป้าจากระยะปลอดภัย อีเอช-60ซี แบล็กฮอว์ก เป็นรุ่นเอที่ดัดแปลงมาเพื่ออุปกรณ์อิเลคทรอนิกพิเศษและเสาอากาศด้านนอก อียูเอช-60แอล เป็นรุ่นดัดแปลงที่มีอุปกรณ์อิเลคทรอนิกพิเศษสำหรับภารกิจทางอากาศ อีเอช-60แอล แบล็กฮอว์ก เป็นรุ่นอีเอช-60เอที่มีการพัฒนาอุปกรณ์มากมาย ยูเอช-60คิว แบล็กฮอว์ก เป็นรุ่นเอที่ดัดแปลงมาเพื่อขนย้ายผู้ได้รับบาดเจ็บ เอชเอช-60แอล เป็นรุ่นแอลที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์ของมันมีทั้งรอก ระบบช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บ ระบบควบคุม ตามสภาพแวดล้อม ระบบออกซิเจน และที่นั่งพยาบาล เอ็มเอช-60เอ แบล็กฮอว์ก เป็นรุ่นดัดแปลงในด้านระบบอิเลคทรอนิกอากาศ ระบบนำร่องที่แม่นยำ อินฟราเรด และความสามารถ ในการเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ มันมีเครื่องยนต์ที700-จีอี-701 เป็นขุมกำลัง เอ็มเอช-60เค แบล็กฮอว์ก เป็นแบบของสหรัฐที่ดัดแปลงมาเพื่อปฏิบัติการพิเศษ เอ็มเอช-60แอล ไดเรกแอ็คชั่นเพเนเทรเตอร์ เป็นแบบของสหรัฐที่ดัดแปลงมาเพื่อปฏิบัติการพิเศษ มันสามารถติดตั้งอาวุธ อย่างขีปนาวุธเฮลไฟร์ ปืนกลเอ็ม230 ขนาด 30 ม.ม. จรวดไฮดรา 70 และปืนเอ็ม134ดีที่จะติดตั้งอยู่ตรงประตู เอชเอช-60เอ็ม เป็นแบบของสหรัฐที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ ยูเอช-60เอ ราสคาล เป็นแบบดัดแปลงของนาซ่าสำหรับการทดลองระบบใบพัดซึ่งเป็นโครงการมูลค่า 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อใช้ในการศึกษาการเคลื่อนที่ของเฮลิคอปเตอร์ในโครงการพิเศษ วีเอช-60ดี ไนท์ฮอว์ก เป็นแบบของนาวิกโยธินสหรัฐ มันยังถูกดัดแปลงเป็นรุ่นเอชเอช-60ดีเพื่อขนย้ายบุคคลสำคัญ มี เครื่องยนต์ที700-จีอี-401ซีเป็นขุมกำลัง วีเอช-60เอ็น ไวท์ฮอว์ก เป็นแบบของนาวิกโยธินสหรัฐ มันคือรุ่นเอที่ถูกดัดแปลงโดยมีจุดเด่นคล้ายกับเอสเอช-60บี/เอฟ ซีฮอว์ก มันถูกใช้เพื่อขนย้ายประธานาธิบดี มันเข้าประจำการเมื่อปีพ.ศ. 2531 รุ่นส่งออก ยูเอช-60เจ แบล็กฮอว์ก เป็นรุ่นส่งออกให้กับกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศของญี่ปุ่น มันยังมีอีกชื่อหนึ่งว่าเอส-70-12 ถูก ผลิตภายใต้ใบอนุญาตโดนอุตสาหกรรมมิตซูบิชิ ยูเอช-60เจเอ แบล็กฮอว์ก เป็นรุ่นส่งออกให้กับกองกำลังป้องกันตนเองทางบกญี่ปุ่น ถูกผลิตภายใต้ใบอนุญาตโดนอุตสาหกรรม มิตซูบิชิ เอเอช-60แอล อาร์เพียร์ 3 เป็นรุ่นส่งออกให้กับโคลัมเบียที่มีการพัฒนาระบบอิเลคทรอนิกอากาศ ระบบการยิง อินฟราเรด เรดาร์ จรวดขนาดเบา และปืนกล มันถูกนำไปพัฒนาโดยกองทัพอากาศโคลัมเบีย เอลบิท และซิคอร์สกี้ เอเอช-60แอล แบล็กฮอว์ก เป็นรุ่นส่งออกที่ไม่ประสบความสำเร็จ โดยเดิมทีตั้งใจจะขายให้กับกองทัพออสเตรเลียในโครงการเอ ไออาร์87 ซึ่งคล้ายกับเอเอช-60แอล อาร์เพียร์3 ยูเอช-60พี แบล็กฮอว์ก เป็นรุ่นส่งออกให้กับสาธารณรัฐเกาหลีซึ่งคล้ายกับยูเอช-60แอล รายละเอียดของยูเอช-60 แบล็คฮอว์ค ลูกเรือ : 4 นาย ความจุ : 2,640 ปอนด์สำหรับสินค้าภายใน รวมทั้งทหาร 14 นายและเปลหาม 6 อัน หรือ 8,000 ปอนด์ (ยูเอช-60เอ) และ 9,000 ปอนด์ (ยูเอช-60แอล) สำหรับสินค้าภายนอก ความยาว : 19.76 เมตร ความกว้างลำตัว : 2.36 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางใบพัด : 16.36 เมตร ความสูง : 5.13 เมตร น้ำหนักเปล่า : 4,819 กิโลกรัม น้ำหนักพร้อมบรรทุก : 9,980 กิโลกรัม น้ำหนักสูงสุดตอนนำเครื่องขึ้น : 10,660 กิโลกรัม ขุมกำลัง : เครื่องยนต์เทอร์โบชาฟท์ของเจเนรัล อิเลคทริกแบบที700-จีอี-701ซี กำลังขับเคลื่อนเครื่องละ 1,800 แรงม้า ความเร็วสูงสุด : 295 กิโลเมตร/ชั่วโมง ความเร็วในการร่อน : 278 กิโลเมตร/ชั่วโมง รัศมีทำการรบ : 592 กิโลเมตร พิสัยในการเคลื่อนย้าย : 2,220 กิโลเมตร เพดานบินทำการ : 19,000 ฟุต อัตราการไต่ระดับ : 700 ฟุต/นาที อัตราน้ำหนักต่อการแรงผลัก : 0.192 แรงม้า/ปอนด์ อาวุธ : ปืนกลเอ็ม240เอชหรือเอ็ม134 ขนาด 7.62 ม.ม.สองกระบอก CREDIT http://th.wikipedia....81#cite_note-18
  15. มาม่าดีแท้ ปล.คนทำก็เมพมากกกก
  16. ดักแน่ๆ เดียวมาสปอยหลังดูแล้ว Edit : 18+ จิงๆด้วยล่า
  17. หลังจากนั้นกลับบ้านไปโดนพ่อเด็กโดนไล่ออก
  18. จิง มัง หรือว่าปลอม
  19. พวกเขมน อย่าไปใวใจพวกนั้นมาก พอได้พื้นที่เราไปก็ยิงได้ใจ ความโลภของมนุษย์ ไม่มีที่สิดสุด ถึงขนาน ต้องฆ่าแกล้งกันเพื่อผลประโยชน์
  20. Ezero

    M1 Abrams

    M1 Abrams เอ็ม1 เอบรามส์ (อังกฤษ: M1 Abrams) เป็นรถถังประจัญบานรุ่นที่สามของสหรัฐอเมริกา ชื่อของมันมาจากนายพลเครกตัน เอบรามส์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการกองทัพสหรัฐในสงครามเวียดนามตั้งแต่ปีพ.ศ. 2511-2515 มันมีอาวุธที่ดี เกราะขนาดหนัก และคล่องตัวตามที่มันถูกออกแบบมาเพื่อทำสงครามยานเกราะยุคใหม่ จุดเด่นของมันคือเครื่องยนต์เทอร์ไบที่ทรงพลัง การใช้เกราะผสม และการเก็บกระสุนแยกต่างหากจากห้องของลูกเรือ มันเป็นหนึ่งในรถถังที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประจำการ ด้วยน้ำหนักเกือบ 62 ตัน เอ็ม1 เอบรามส์ได้เข้าประจำการในกองทัพสหรัฐเมื่อปีพ.ศ. 2523 โดยเข้ามาแทนที่เอ็ม60 แพทตันอย่างไรก็ตามมันก็ทำงานร่วมกับเอ็ม60เอรุ่นที่ได้รับการพัฒนามาตลอดทศวรรษ ซึ่งเข้าประการมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2521 รุ่นหลักๆ ของเอ็ม1 มีสามรุ่นด้วยกัน คือ เอ็ม1 เอ็ม1เอ1 และเอ็ม1เอ2 โดยมีการพัฒนาด้านอาวุธ การป้องกัน และระบบไฟฟ้า การพัฒนาเหล่านี้มีเพื่อทำให้มันมีอายุการใช้งานที่นานขึ้น ในปัจจุบันกำลังมีการพัฒนาเอ็ม1เอ3 มันเป็นรถถังประจัญบานหลักของกองทัพบกสหรัฐและเหล่านาวิกโยธินสหรัฐ รวมทั้งกองทัพบกอียิปต์ กองทัพบกคูเวต กองทัพบกซาอุดิอาระเบีย กองทัพบกออสเตรเลีย และกองทัพบกอิรัก เอ็ม1 เอบรามส์จะประจำการจนถึงทศวรรษที่ 2593 ประมาณ 70 ปีหลังจากที่มันเข้าประจำการครั้งแรก การพัฒนา ความพยายามครั้งแรกที่จะแทนที่รถถังเอ็ม60 แพทตันคือเอ็มบีที-70 ที่พัฒนาขึ้นด้วยการร่วมมือกับเยอรมนีตะวันตกในทศวรรษที่ 2503 เอ็มบีที-70 นั้นเป็นสิ่งที่ใหม่และมีแนวคิดหลายอย่างซึ่งได้พิสูจน์ว่าไม่ประสบความสำเร็จ ผลต่อมาคือโครงการที่ถูกยกเลิกไป ต่อมาสหรัฐก็เริ่มเอ็กซ์เอ็ม803 ซึ่งไม่ต่างอะไรจากเอ็ม60 มีเพียงแต่ระบบที่แพงขึ้นเท่านั้น สภาคองเกรสได้ยกเลิกเอ็มบีที-70 ในเดือนพฤศจิกายนและเอ็กซ์เอ็ม803 ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2514 และโอนงบประมาณไปที่เอ็กซ์เอ็ม815 ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นเอ็กซ์เอ็ม1 เอบรามส์ตามชื่อนายพลเครกตัน เอบรามส์ ต้นแบบถูกส่งมอบในปีพ.ศ. 2519 โดยไครส์เลอร์ ดีเฟนซ์และเจเนรัล มอเตอร์สโดยติดตั้งอาุวุธเป็นปืนใหญ่โรยัล ออร์ดแนวซ์ แอล7 ขนาด 105 ม.ม.ที่เทียบเท่ากับของลีโอพาร์ด 2 การออกแบบไครส์เลอร์ ดีเฟนซ์ถูกเลือกให้ได้รับการพัฒนาต่อไปให้เป็นรถถังเอ็ม1 ในปีพ.ศ. 2522 เจเนรัล ไดนามิกส์ก็ได้ซื้อบริษัทไครส์เลอร์ ดีเฟนซ์ มีเอ็ม1 เอบรามส์จำนวน 3,273 คันที่ถูกผลิคออกมาในช่วงพ.ศ. 2522-2528 และเข้าประจำการในกองทัพสหรัฐครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2523 มันมีอาวุธคือปืนใหญ่รถถังโรยัล ออร์ดแนนซ์ แอล7 ขนาด 105 ม.ม.ที่ผลิตตามใบอนุญาต รุ่นที่ได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมเอ็ม1ไอพีที่ออกตัวในปีพ.ศ. 2527 เอ็ม1ไอพีถูกใช้ในการประกวดแข่งขันรถถังของแคนาดาเมื่อปีพ.ศ. 2528 และ 2530 มีเอ็ม1เอ1 เอบรามส์ประมาณ 5,000 คันที่ถูกผลิตออกมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2529-2535 และมีจุดเด่นที่ปืนเอ็ม256 ขนาด 120 ม.ม.ที่ผลิตโดยไรน์เมทัล เอจีของเยอรมนีเพื่อใช้กับลีโอพาร์ด 2 เกราะที่แข็งแกร่ง และระบบป้องกันซีบีอาร์เอ็น โรงงานผลิตในโอไฮโอปัจจุบันเป็นผู้ผลิตเอบรามส์และก่อนหน้านั้นคือโรงงานในมิชิแกนเมื่อปีพ.ศ. 2525-2539 สงครามอ่าวเปอร์เซีย เมื่อเข้าประจำการในทศวรรษที่ 2523 เอบรามส์ก็เข้าทำหน้าที่ร่วมกับเอ็ท60เอ3 และรถถังของนาโต้ในการซ้อมรบมากมายในช่วงสงครามเย็น การซ้อมรบเหล่านี้เกิดขึ้นในทางตะวันตกของยุโรป โดยเฉพาะในเยอรมันตะวันตก แต่ก็รวมทั้งในประเทศอื่นๆ อย่างเกาหลีใต้ ในการฝึกเหล่านี้ลูกเรือของเอบรามส์ได้พัฒนาทักษะของพวกเขาเพื่อใช้จัดการกับทหารและยุทรโธปกรณ์ของสหภาพโซเวียต อย่างไรก็ตามในปีพ.ศ. 2534 สหภาพโซเวียตก็ล่มสลายลงและเอบรามส์ก็พบหนทางของมันในตะวันออกกลาง เอบรามส์ยังคงไม่ได้รับการทดสอบในการรบจนกระทั่งถึงสงครามอ่าวในปีพ.ศ. 2534 เอ็ม1เอ1 ทั้งหมด 1,848 คันถูกส่งเข้าซาอุดิอาระเบีย เอ็ม1เอ1นั้นเหนือชั้นกว่ารถถังที-55 และที-62 ของอิรักที่ผลิตโดยโซเวียต เช่นเดียวกันกับรถถังที-72 และไลออนออฟบาบีลอน ที-72 นั้นเหมือนกับรถถังทั่วไปของโซเวียตคือมันไม่มีระบบมองกลางคืนและเลเซอร์วัดระยะ แม้ว่าพวกมันบางคันจะมีระบบอินฟราเรดและไฟส่อง แต่มันก็ไม่ใช่รุ่นที่ทันสมัยเหมือนกับของเอบรามส์ มีเอ็ม1เอ1 เพียง 23 คันเท่านั้นที่เสียหายร้ายแรงในสงครามอ่าว[10] และมีเพียงคันเดียวเท่านั้นที่สูญเสียลูกเรือไป บางคันได้รับความเสียหายเล็กน้อย มีเอบรามส์เพียงไม่กี่คันที่ถูกศัตรูยิง และมีเพียงคันเดียวที่ได้รับความเสียหายอย่างหนัก เอ็ม1เอ1 สามารถทำแต้มสังหารที่ระยะ 2,500 เมตรได้ ด้วยระยะนี้ทำให้รถถังโซเวียตหมดโอกาสในปฏิบัติการพายุทะเลทราย เพราะว่าระยะหวังผลของรถถังโซเวียตของอิรักนั้นต่ำกว่า 2,000 เมตร (รถถังของอิรักไม่สามารถยิงขีปนาวุธต่อต้านรถถังได้เหมือนของโซเวียต) นั่นหมายความว่าเอบรามส์สามารถยิงใส่รถถังของศัตรูได้ก่อนที่พวกนั้นจะเข้าสู่ระยะยิง ในอุบติเหตุการยิงใส่พวกเดียวกันเองเกราะของป้อมปืนนั้นสามารถรอดจากกระสุนเจาะเกราะพลังงานจลน์ของรถถังเอ็ม1เอ1 อีกคันได้ ไม่เหมือนกับเกราะด้านข้างของลำตัวกับเกราะด้านหลังของป้อมปืนซึ่งถูกทำลายโดยการยิงจากพวกเดียวกันเองที่ใช้กระสุนยูเรเนียมในยุทธการนอร์ฟอล์ก การป้องกัน ลายพราง ไม่เหมือนกับยานพาหนะในยุคแรกๆ ของกองทัพบกสหรัฐในสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเวียดนาม ซึ่งใช้โครงสีน้ำตาลเขียวเข้มและรูปดาวดวงใหญ่ เอ็ม1 (ขนาดปืน 105 ม.ม.) ในรุ่นผลิตแรกๆ นั้นจะใช้สีเขียวล้วนแลัะเปลี่ยนการใช้รูปดาวไปเป็นแต้มสีดำแทน บางหน่วยจะทำสีรถถังที่ประกอบด้วย 4 สี ปัจจุบันรถถังในภาคสนามที่ใช้สีเดิมที่เป็นสีเขียวนั้นแถบจะไม่มีแล้ว เอ็ม1เอ1 (ขนาดปืน 120 ม.ม.) ที่ผลิตมาจากโรงงานจะมาพร้อมลายพราง 3 สีของนาโต้ คือ ดำ เขียว และน้ำตาลเขียว ปัจจุบันเอ็ม1 และเอ็ม1เอ1 ที่ประจำในสงครามอ่าวจะถูกทำสีเป็นสีน้ำตาลทะเลทราย รถถังบางคันจะถูกทำสีให้ตรงตามกับหน่วยสังกัด เอ็ม1เอ2 ที่ถูกผลิตให้กับประเทศในตะวันออกกลางก็ทำสีเป็นสีน้ำตาลทะเลทรายเช่นกัน เอ็ม1 บางรุ่นกำลังถูกทำสีเป็นสีน้ำตาลทะเลทรายเพื่อส่งเข้าทำหน้าที่ในอิรัก ชิ้นส่วนอะไหล่ (เช่น ล้อ แผงเกราะข้าง ล้อเฟือง เป็นต้น) จะถูกทำสีเป็นสีเขียวล้วน ซึ่งบางครั้งก็นำไปใช้กับทั้งรถถังคันที่เป็นสีเขียวและสีน้ำตาลทะเลทราย การอำพรางตัว ส่วนป้อมปืนนั้นจะมีท่อยิงระเบิดควันอยู่หกท่อ พวกมันสามารถสร้างกำแพงควันหนาที่ทำให้ศัตรูมองไม่เห็นแม้จะใช้กล้องตรวจจับความร้อนก็ตาม นอกจากนี้มันยังสามารถเปลี่ยนเป็นยิงชาฟฟ์ที่จะรบกวนเรดาร์ได้อีกด้วย ที่เครื่องยนต์มีการติดตั้งเครื่องสร้างควันที่จะเปิดได้โดยพลขับ เมื่อทำงาน มันจะพ่นเชื้อเพลิงตามท่อของเครื่องยนต์จนเกิดเป็นควันขึ้นมา อย่างไรก็ตาม เนื่องมาจากการเปลี่ยนการใช้น้ำมันดีเซลไปเป็นเชื้อเพลิงเจพี-8 ระบบดังกล่าวจึงถูกปิดในรถถังส่วนมาก เพราะว่าเจพี-8 จะทำให้เครื่องยนต์ลูกเป็นไฟแทนหากพ่นมันไปตามท่อเครื่องยนต์ ระบบการป้องกันแบบปฏิบัติ นอกเหนือจากเกราะที่ก้าวหนาแล้ว เอบรามส์บางคันก็ยังติดตั้งอุปกรณ์ต่อต้านขีปนาวุธเอาไว้ ซึ่งมันสามารถรบกวนระบบนำวิถีของขีปนาวุธสายลวดและขีปนาวุธต่อต้านรถถังนำวิถีด้วยวิทยุ (เช่น เอที-3 เอที-4 เอที-5 เอที-6 ของรัสเซีย) และขีปนาวุธนำวิถีด้วยความร้อนและอินฟราเรดอื่นๆ อุปกรณ์นี้จะติดตั้งอยู่บนป้อมปืนหน้าฝาปิิดห้องลูกเรือ มันทำให้บางคนเข้าใจผิดว่ารถถังที่ติดตั้งอุปกรณ์นี้คือเอ็ม1เอ2 เพราะว่าการติดตั้งช่องสำหรับผู้บัญชาการรถถังในตำแหน่งเดียวกัน เกราะ เอบรามส์นั้นได้รับการป้องกันจากเกราะที่มีการออกแบบมาจากเกราะช็อบแฮมของอังกฤษ ซึ่งมันคือการพัฒนาจากเกราะเบอร์ลิงตันของอังกฤษเช่นเดียวกัน ช็อบแฮมเป็นเกราะแบบผสมที่เกิดจากการซ้อนวัสดุที่ประกอบด้วย เหล็กอัลลอย เซรามิก พลาสติกผสม และเคฟลาร์ ทำให้มันมีเกราะหนาถึง 1,320-1,620 มิลลิเมตรที่ต้านทานสารเคมีและความร้อน พร้อมเกราะต้านกระสุนเจาะเกราะพลังงานจลน์หนา 940-960 มิลลิเมตร อาจมีการนำเกราะปฏิกิริยามาใช้ในส่วนล่างหากจำเป็น (ในการรบแบบเมือง) และเกราะแสลทที่ด้านท้ายของรถถังเพื่อป้องกันการโจมตีจากขีปนาวุธนำวิถีต่อต้านรถถัง การป้องกันสะเก็ดระเบิดจะใช้เกราะเคฟลาร์ ในตอนแรกเมื่อปีพ.ศ. 2530 เอ็ม1เอ1 ได้รับการพัฒนาไปใช้เกราะที่ทำงานร่วมกับยูเรเนียมสิ้นอายุที่จะติดตั้งตรงด้านหน้าของป้อมปืนและด้านหน้าของตัวถัง เกราะแบบนี้มีประสิทธิภาพมากในการเพิ่มแรงต้านทานต่ออาวุธต่อต้านรถถังทุกรูปแบบ แต่มันก็ตามมาด้วยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เพราะว่ายูเรเนียมสิ้นอายุนั้นหนักกว่าตะกั่วถึง 1.7 เท่า เอ็ม1เอ1 รุ่นแรกๆ ที่ใช้เกราะแบบนี้ประจำการอยู่ในเยอรมนี เพราะว่าพวกมันคือแนวตั้งรับแรกสุดต่อสหภาพโซเวียต กองพันยานเกราะของสหรัฐที่ทำสงครามในปฏิบัติการพายุทะเลทรายได้รับการปรับเปลี่ยนไปใช้เกราะยูเรเนียมอย่างกะทันหันก่อนเริ่มการรบ เอ็ม1เอ2 นั้นใช้เกราะเนื้อเดียวที่หน้า 610 มิลลิเมตร ความแข็งแกร่งของเกราะนั้นพอๆ กับรถถังประจัญบานหลักของฝั่งยุโรปอย่างลีโอพาร์ด 2 ในสงครามอ่าว รถถังเอบรามส์รอดจากการถูกยิงหลายครั้งในระยะใกล้โดยรถถังไลออน ออฟ บาบิโลนและขีปนาวุธต่อต้านรถถังของอิรัก กระสุนของเอบรามส์ด้วยกันเองก็ยังไม่สามารถเจาะทะลุเกราะด้านหน้าและด้านข้างได้เช่นกัน ตัวอย่างที่ให้เห็นเกิดขึ้นเมื่อเอบรามส์คันหนึ่งต้องการทำลายเอบรามส์อีกคันที่ติดหล่มและขวางทางอยู่จนต้องทิ้งมันไว้ การควบคุมความเสียหาย ในกรณีที่เอบรามส์ได้รับความเสียหายจากการถูกยิงเข้าที่ส่วนห้องลูกเรือ รถถังจึงได้ติดตั้งระบบดับเพลิงเอาไว้ ซึ้งมันจะทำการดับเพลิงโดยอัตโนมัติทันทีเมื่อเกิดไฟไหม้ เชื้อเพลิงและกระสุนจะถูกเก็บเอาไว้ในส่วนที่หุ้มเกราะเพื่อป้องกันลูกเรือจากการระเบิดของกระสุนในรถถังเมื่อรถถังถูกยิง ข้อมูล บทบาท รถถังประจัญบานหลัก สัญชาติ สหรัฐอเมริกา ประจำการ ปีพ.ศ. 2523-ปัจจุบัน ผู้ใช้งาน USA สงคราม สงครามอ่าว สงครามอัฟกานิสถาน สงครามอิรัก ผู้ออกแบบ ไครสเลอร์ ดีเฟนซ์(ปัจจุบันเป็น เจเนรัล ไดนามิกส์) บริษัทผู้ผลิต ลิมา อาร์มี แทงค์ แพลนท์ (พ.ศ. 2523-ปัจจุบัน) ดีทรอยท์ อาร์เซนอล แทงค์ แพลนท์ (พ.ศ. 2525-2539) มูลค่า 6.21 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เอ็ม1เอ2) จำนวนที่ผลิต มากกว่า 9,000 คัน แบบอื่น M1A1 M1A2 M1A2SEP น้ำหนัก 61.3 ตัน ความยาว รวมปืนที่ยื่นออกไปข้างหน้า 9.77 เมตร ตัวถัง 7.93 เมตร ความกว้าง 3.66 เมตร ความสูง 2.44 เมตร ลูกเรือ 4 นาย (ผู้บัญชาการรถถัง พลปืน พลบรรจุ และพลขับ) เกราะ เกราะช็อบแฮม เกราะอาร์เอช แผ่นเหล็กป้องกันยูเรเนียม อาวุธหลัก ปืนใหญ่ลำกล้องเกลียวเอ็ม68 ขนาด 105 ม.ม. (เอ็ม1) ปืนใหญ่ปัจจุบันไร้เกลียวเอ็ม256 ขนาด 120 ม.ม.(เอ็ม1เอ1 เอ็ม1เอ2 เอ็ม1เอ2เอสอีพี) อาวุธรอง ปืนกลหนักเอ็ม 2 บราวนิง ขนาด 12.7 ม.ม.หนึ่งกระบอก ปืนกลเอ็ม240 ขนาด 7.62 ม.ม.สองกระบอก (หนึ่งกระบอกบนฝาครอบ หนึ่งกระบอกข้างปืนหลัก) เครื่องยนต์ ฮันนีเวลล์ เอจีที1500ซี ให้แรงขับ 1,500 แรงม้า กำลัง/น้ำหนัก 24.5 แรงม้า/ตัน ระบบส่งกำลัง อัลลิสัน ดีโอเอ เอ็กซ์-1100-3บี ระบบช่วงล่าง ทอร์ชั่นบาร์ ระยะห่างระหว่างตัวถังกับพื้น 0.48 เมตร (เอ็ม1 เอ็ม1เอ1) 0.43 เมตร (เอ็ม1เอ2) ความจุเชื้อเพลิง 500 แกลลอน พิสัย 465.29 กิโลเมตร ติดตั้งระบบป้องกันนิวเคลียร์ชีวะเคมี 449.19 กิโลเมตร ความเร็ว บนถนน: 67.7 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นอกถนน: 48.3 กิโลเมตรต่อชั่วโมง CREDIT http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%A11_%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B9%8C
  21. เอฟ-16 ไฟทิงฟอลคอน(อังกฤษ: F-16 Fighting Falcon) เป็นเครื่องบินขับไล่หลากบทบาทที่เดิมที่พัฒนาขึ้นโดยGeneral Dynamicsเพื่อกองทัพอากาศสหรัฐมันถูกออกแบบให้เป็นเครื่องบินขับไล่ตอนกลางวันน้ำหนักเบา มันได้กลายมาเป็นเครื่องบินขับไล่ที่ประสบความสำเร็จ ความสามารถรอบตัวของมันเป็นเหตุผลหนักที่มันทำการตลาดได้เยี่ยมโดยมันถูกเลือกโดยกองทัพอากาศของ 25 ประเทศ (ไทย1ในนั้น) เอฟ-16 เป็นนักสู้กลางอากาศที่มีวัตกรรมมากมายรวมทั้งฝาครอบห้องนักบินที่โค้งมน คันบังคับแบบแท่งที่ทำให้งานต่อการควบคุมภายใต้แรงจี และที่นั่งที่เอนไปด้านหลังเพื่อลดแรงจีที่กระทำต่อนักบิน อาวุธมีทั้งปืนใหญ่เอ็ม61 วัลแคนและขีปนาวุธมากมาย 11 ตำบล มันยังเป็นเครื่องบินขับไล่แบบแรกที่ถูกสร้างมาเพื่อทำการเลี้ยวแบบ 9 จีได้ มันมีอัตราการผลักต่อน้ำหนักที่ดีมาก ส่งผลให้มันมีพลังในการไต่ระดับและการเร่งที่ยอดเยี่ยมหากจำเป็น แม้ว่าชื่อทางการของมันคือ"ไฟทิงฟอลคอน" แต่นักบินก็เรียกมันว่า ไวเปอร์ (Viper) เนื่องมาจากมันคล้ายกับงูเห่าและตั้งชื่อตามยานขับไล่ในซีรีส์สแบทเทิลสตาร์ กาแลคติก้า เอฟ-16 มีกำหนดการที่จะปลดออกจากประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐในปีพ.ศ. 2568 มีการวางแผนที่จะแทนที่เอฟ-16 ด้วยเอฟ-35 ไลท์นิ่ง 2 ซึ่งจะเข้าประจำการในปีพ.ศ. 2554 และจะเริ่มเข้าแทนที่เครื่องบินหลากบทบาทจำนวนมากในกองทัพของชาติที่เข้าร่วมโครงการ ต้นกำเนิด ด้วยประสบการณ์จากสงครามเวียดนามที่บ่งบอกถึงความสามารถของเครื่องบินขับไล่ที่อเมริกาจะต้องการในเร็วๆ นี้ และความต้องการที่จะต้องให้นักบินได้รับการฝึกการต่อสู้ในอากาศให้มากขึ้น ความต้องการเครื่องบินขับไล่ครองความได้เปรียบทางอากาศแบบใหม่นั้นทำให้กองทัพอากาศสหรัฐเริ่มศึกษาการพัฒนาจากสองความคิดในปีพ.ศ. 2508 คือ โครงการทดลองเครื่องบินขับไล่หรือเอฟเอกซ์ (Fighter Experimental, FX) ที่เป็นเครื่องบินปีกพับได้ขนาด 27,200 กิโลกรัมพร้อมเครื่องยนต์สองเครื่อง และ โครงการเครื่องบินขับไล่กลางวันแบบพัฒนาหรือเอดีเอฟ (Advanced Day Fighter, ADF) ที่เป็นเครื่องบินน้ำหนักเบาขนาด 11,300 กิโลกรัมซึ่งมากกว่ามิก-21 25% อย่างไรก็ดีการปรากฏตัวของมิก-25 ที่ทำความเร็วได้ถึงมัก 3 ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2510 นั้น ทำให้โครงการเอดีเอฟตกเป็นรองจากโครงการเอฟเอกซ์ ซึ่งได้ผลิตเอฟ-15 ขนาด 18,100 กิโลกรัมออกมา โครงการเครื่องบินขับไล่น้ำหนักเบา ในปลายทศวรรษที่ 1960 บอยด์ได้รวบรวมกลุ่มผู้คิดค้นที่กลายมาเป็นกลุ่มที่รู้จักกันในชื่อ"มาเฟียเครื่องบินขับไล่น้ำหนักเบา" ในปีพ.ศ. 2512 กลุ่มสามารถหาทุนในการศึกษาและประเมินผลทฤษฎีอี-เอ็มของพวกเขา เจเนรัล ไดนามิกส์ได้รับเงินจำนวน 149,000 ดอลลาร์สหรัฐ และนอร์ทธรอปได้รับ 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อทำการพัฒนาแบบความคิดที่จะใช้เป็นตัวทฤษฎีอี-เอ็มของบอยด์ งานของพวกเขานำไปสู่วายเอฟ-16 และวายเอฟ-17 ตามลำดับ ํYF-16 YF-17 ประวัติการใช้งาน การรบครั้งแรกประสบผลที่หุบเขาเบก้าและการบุกออสอิรัก (พ.ศ. 2524) ปฏิบัติการความสงบเพื่อกัลลิลี (พ.ศ. 2525) เหตุการณ์ในช่วงสงครามโซเวียต-อัฟกานิสถาน (พ.ศ. 2529-2531) ปฏิบัติการพายุทะเลทราย (พ.ศ. 2534) ปฏิบัติการทางอากาศเหนืออิรัก (พ.ศ. 2534-2546) การพยายามรัฐประหารเวเนซูเอลา (พ.ศ. 2535) บัลข่าน (พ.ศ. 2537-2538 และ 2542) เหตุการณ์ในอีเจียน (พ.ศ. 2539 และ 2549) สงครามคาร์จิล (พ.ศ. 2542) ปฏิบัติการในอัฟกานิสถาน (พ.ศ. 2544-ปัจจุบัน) ปฏิบัติการพายุมืด การบุกอิรักและปฏิบัติการหลังสงคราม (พ.ศ. 2546-ปัจจุบัน) สงครามเลบานอนครั้งที่สอง (พ.ศ. 2549) ความขัดแย้งของอิสราเอลและกาซ่าในปีพ.ศ. 2551-2552 รายละเอียด เอฟ-16ซี ลูกเรือ : 1 นาย ความยาว : 14.8 เมตร ความสูง : 4.8 เมตร ระยะระหว่างปลายปีก: 9.45 เมตร พื้นที่ปีก : 27.87 ตารางเมตร น้ำหนักเปล่า : 8,670 กิโลกรัม น้ำหนักพร้อมอาวุธ : 12,000 กิโลกรัม น้ำหนักวิ่งขึ้นสูงสุด : 14,968 กิโลกรัม ขุมกำลัง : เครื่องยนต์เทอร์โบแฟนพร้อมสันดาปท้ายแบบเอฟ110-จีอี-100 ให้แรงขับ 17,155 ปอนด์และ 28,600 ปอนด์เมื่อใช้สันดาปท้าย ความเร็วสูงสุด : 1.2 มัค (1,470 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ในระดับน้ำทะเล มากกว่า 2.0 มัค (2,414 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ในระดับสูง รัศมีทำการรบ : 550 กิโลเมตรพร้อมระเบิด 450 กิโลกรัม ระยะในการขนส่ง : 4,220 กิโลมตรพร้อมถังที่สลัดทิ้งได้ เพดานบินทำการ : มาก 60,000 ฟุต อัตราการไต่ระดับ : 50,000 ฟุตต่อนาที น้ำหนักบรรทุกที่ปีก : 194 กิโลกรัมต่อตารางเมตร อัตราแรงขับต่อน้ำหนัก : 1.095 อาวุธ ปืน ปืนแกทลิ่งเอ็ม61 วัลแคนขนาด 20 ม.ม.หนึ่งกระบอก พร้อมกระสุน 515 นัด จรวด กระเปาะจรวดแบบแอลเอยู-61/แอลเอยู/68 4 อัน (แต่ละอันมีจรวดไฮดรา 70 19 และ 7 ลูกตามลำดับ) หรือ กระเปาะจรวดแบบแอลเอยู-5003 4 อัน (แต่ละอันมีจรวดซีอาร์วี7 19 ลูก) หรือ กระเปาะจรวดแบบแอลเอยู-10 4 อัน (แต่ละอันมีจรวดซูนิ 4 ลูก) ขีปนาวุธ ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศ เอไอเอ็ม-7 สแปร์โรว์ 2 ลูก หรือ เอไอเอ็ม-9 ไซด์ไวน์เดอร์ 6 ลูก หรือ ไอริส-ที 6 ลูก หรือ เอไอเอ็ม-120 แอมแรม 6 ลูก หรือ ไพธอน-4 6 ลูก ขีปนาวุธอากาศสู่พื้น เอจีเอ็ม-45 ไชรค์ 6 ลูก หรือ เอจีเอ็ม-65 มาเวอร์ริก 6 ลูก หรือ เอจีเอ็ม-88 ฮาร์ม 4 ลูก ขีปนาวุธต่อต้านเรือ เอจีเอ็ม-84 ฮาร์พูน 2 ลูก หรือ เอจีเอ็ม-119 เพนกวิน 4 ลูก ระเบิด ซีบียู-87 2 ลูก ซีบียู-89 2 ลูก ซีบียู-97 2 ลูก จีบียู-10 เพฟเวย์ 2 4 ลูก จีบียู-12 เพฟเวย์ 2 6 ลูก ระเบิดวิถีด้วยเลเซอร์ตระกูลเพฟเวย์ 6 ลูก เจแดม 4 ลูก ระเบิดมาร์ค 84 4 ลูก ระเบิดมาร์ค 83 8 ลูก ระเบิดมาร์ค 82 12 ลูก ระเบิดนิวเคลียร์ บี61 อื่นๆ เครื่องปล่อยพลุล่อเป้าแบบเอสยูยู-42เอ/เอ หรือ อีเอ็มซีแบบเอเอ็น/เอแอลคิว-131 และเอเอ็น/เอแอลคิว-184 หรือ กระเปาะหาเป้าแบบแลนเทิร์น ล็อกฮีด มาร์ติน สไนเปอร์ เอ็กซ์อาร์ และไลท์นิ่ง หรือ ถังเชื้อเพลิงทิ้งได้ขนาด 300/330/370 แกลลอนสหรัฐฯ ได้มากถึง 3 ถังเพื่อทำการขนส่งหรือเพิ่มระยะ อิเลคทรอนิกอากาศ เรดาร์แบบเอเอ็น/เอพีจี-68 CREDIT http://th.wikipedia....%B8%AD%E0%B8%99 และ google ในการหารูป
  22. ปลย. 51 (TAR-21) ทาวอร์ ทาร์ 21 (IMI Tavor TAR-21) เป็นปืนเล็กยาวรุ่นใหม่ของอิสราเอล ออกแบบตั้งแต่ พ.ศ. 2534 เริ่มทดสอบตั้งแต่ พ.ศ. 2542-2543 และเริ่มประจำการตั้งแต่ พ.ศ. 2545 ในกองทัพโคลัมเบีย, คอสตาริกา, จอร์เจีย, กัวเตมาลา, อิสราเอล, อินเดีย และโปรตุเกส กองทัพบกไทยได้ทำสัญญาสั่งซื้อ ทาวอร์ ทาร์ 21 เข้าประจำการ จำนวน 15,000 กระบอก ในปี พ.ศ. 2550-2552 และเข้าประจำการในชื่อว่า "ปืนเล็กยาว แบบ 50 (ปลย. 50)" โดยเข้าประจำการในกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์ (ร.31 รอ.) ชื่อ TAR-21 ย่อมาจาก "Tavor Assault Rifle - 21st Century" หมายความว่า เป็นปืนเล็กยาวของศตวรรษที่ 21 คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้กองทัพบกจัดหาปืนเล็กยาว TAR-21 Tavor จำนวน 15,037 กระบอก และปืนกลแบบ Negev จำนวน 553 กระบอกจากอิสราเอล วงเงิน 1,012,604,512 บาท จากรัฐบาลประเทศอิสราเอล ระหว่างปี 2551-2553 ซึ่งเป็นการจัดหาเพิ่มเติมจากการจัดหาในจำนวนที่เท่ากันเมื่อปีที่แล้ว โดยกองทัพบก จะนำไปทดแทนปืนรุ่นเก่าที่ใช้งานมานานและเริ่มเสื่อมสภาพลงไปเรื่อย ๆ อย่าง M16A1 และ HK33 วนปืนกลแบบ Negev ก็จะเป็นปืนกลประจำหมู่ไว้ยิงสนับสนุนกำลังรบในหมู่ ส่วนตัวแล้วยอมรับตรง ๆ ว่าไม่รู้เรื่องปืนเลยครับ จึงบอกไม่ได้ว่าดีหรือไม่ดี แต่เท่าที่นั่งฟัง คนที่เชี่ยวชาญเรื่องปืนพูด ๆ กันมา Tavor ถือว่าเป็นปืนที่มีประสิทธิภาพสูงมากแบบหนึ่งของโลก แม้ว่าจะมีจุดอ่อนในบางส่วน เช่นในเรื่องของกล้องเล็งที่ยังไม่ทราบว่าจะทนทาน ทนไม้ทนมือทหารไทยหรือเปล่า ส่วน Negev นั้น คงช่วยเพิ่มอำนาจการยิงให้กับหมู่ปืนเล็ก ของทหารราบได้มากทีเดียวครับ เมื่อปืนมีจำนวนมากขึ้นและกำลังพลได้รับการฝึกจนชำนาญ เราอาจจะเห็นภาพข่าวที่มีปืนสองแบบนี้ประกอบอยู่จากภาคใต้ ทั้งนี้ ให้ผบ.ทบ. หรือผู้แทน เป็นผู้ลงนามในความตกลงซื้อขายระหว่างรับบาลไทย กับรัฐบาลอิสราเอล โดยให้รวมถึงการลงนามในเอกสารแก้ไขความตกลงที่อาจเกิดขึ้น ในภายหลังในการจัด ซื้อปืนเล็กกลขนาด 5.56 มิลลิเมตร แบบ NEGEV จากรัฐบาลอิสราเอล 531 กระบอก วงเงิน 140,276,691, บาท การต่างประเทศรายงานว่า สามารถดำเนินการได้โดยไม่เข้าข่ายหนังสือ สัญญาตามมาตรา 190 วรรค 2 แห่งรัฐธรรมนูญ 2550 ข้อมูล/ขีปนวิธี ปลย. แปลว่า ปืนเล็กยาว เป็นปืนประจำกายของทหาร ปลย.51 คือ ปืนเล็กยาวเข้าประจำการปี 51 ก็คือ ปืน TAR-21 Tavor ชนิด ปืนเล็กยาวจู่โจม (Assault Rifle) ขนาดลำกล้อง ความยาวลำกล้อง 460มิลลิเมตร กระสุน 5.56x45 mm. NATO อัตราการยิง 750 - 900 นัด/นาที ระยะหวังผล 200 - 300 เมตร น้ำหนัก 2.8 กิโลกรัม (ปืนเปล่า) 3.653 กิโลกรัม (บรรจุกระสุนและเครื่องเล็ง) ความยาว 720 มิลลิเมตร Tavor TAR-21 assault rifle (standard version) Tavor TAR-21 assault rifle with 40mm M203 ข้อมูลทางเทคนิคของปืน Tarvo แบบของปืนเล็กยาว Tar Ctar ความกว้างของปากลำกล้อง 5.56X45 มม. หลักการทำงาน ยิงจากตำแหน่งหน้าลูกเลื่อนเปิด, แรงดันแก๊สดันหัวลูกสูบ กระสุน M855/SS109 น้ำหนัก(เฉพาะตัวปืน) 3.3 กก. 3.2 กก. ความยาว 72.5 ซม. 64 ซม. ความยาวลำกล้อง 46 ซม. 38 ซม. เกลียวลำกล้อง 6เกลียว,วนขวา ครบรอบที่ระยะ 7 นิ้ว ความเร็วต้นของกระสุน 960 เมตร/วินาที 910 เมตร/วินาที อัตราเร็วในการยิง 700-1000 นัด/นาที กล้องเล็ง กล้องเล็งสะท้อนภาพ MEPRO, ติดตั้งกับลำกล้อง, มีศูนย์เล็งสำรองสำหรับใช้เมื่อกล้องเล็ง MEPRO ใช้การไม่ได้ อุปกรณ์ประกอบตามมาตรฐาน -สายสะพาย -ซองกระสุนขนาดความจุ 30 นัด -คู่มือการใช้งาน และกล่องชุดเครื่องมือทำความสะอาด อุปกรณ์พิเศษ(เผื่อเลือก) -ดาบปลายปืน, ขาทราย -เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 40 มม. -กล้องเล็งแบบต่างๆ มีหลายแบบ ข้อมูลด้านล่างเป็นข้อมูลจากคุณ Skyscraper จากเว็บhttp://www.siambbgun...?topic=247121.0 เนื่องจากผมติดตามข่าวมาตั้งแต่ลอตแรกเลย ปี 50 ล็อต 1. 15,037 กระบอก ล็อต 2. 15.037 กระบอก ล็อต 3. 13,868 กระบอก (บางคนบอกล็อต 3 เป็น m16a4 ไม่ใช่ครับ มันคนละตัวคนละรุ้นกันเลย ดังนั้นถ้าสั่งm16a4 จะไม่ใช่ล็อต3 แต่เป้น ล็อต1 m16a4 แทนครับ) ล็อต 4. ที่ผมทำห้องไว้อะครับเกียวกับปืน ทบ 13.868 กระบอก 15 กย 52 รหัส (ทบ.1399) ล็อต 5 อันนี้บ้าพลัง 2 สัปดาต่อมา 22 กย 52 สั่งเพิ้มอีก 14,264 กระบอก โห เดือนเดียว 28,132 กระบอกแม่เจ้า ทบ.มีแผนจะซื้อปืน ปลยใหม่ตั้งหลายบปีแล้วครับ เลือกแบบปืนอยู่ 2ปีมาลงที่ tar 21 ส่วน m16a4 เราสั่งไปก่อนรัฐประหารครับแล้วไอกันมันไม่ส่งคืนให้ พอมีรัฐบาลมันก็ส่งคืนให้ ทั้งๆที่ ทบ อยากจะเอาเงินมากกว่าปืน เอาไปซื้อ tar 21 ครับ ในแผน ทบ มีอยู่ว่า จัดหา ปลยใหม่ ที่ทันสมัย ดูแลง่าน สดวกและ มีความเชื่อถือสูงสุดครับ ในแผน ต้องจัดหาปลยใหม่ถึง 106,205 กระบอก ล็อตที่3 เงียบมากครับ นักข่าวบางคนยังไม่รู้เลย ผมต้องหาข้อมูลอยู่นาน ตอนแรกก็ไม่รู้ จนเมื้อ 15 กย บอกว่าล็อต 4 มา อ้าวงง แล้ว3ละ หาข้อมูลจนยื้นยันได้ครับ ทั้งนี้รวม tar 21 แล้ว = 72,074 กระบอก แล้ว แม่เจ้า เหลืออีก 34,131 กระบอก ไม่รวม m16a4 20,000 กว่ากระบอกนะครับ ในล็อต 5 มาพร้อมกับหลายอย่างครับ แช่น sea hawk ของทร เรือ ของ ทร หลายชนิด เง้อ ทหารไทยมีของเล่นใหม่มากขึ้นละครับ อ้าลืมกระทู้เก่าผมจำไม่ได้ว่าผมบอกปืนที่ถูกคัดเลือกมา 4 อันดับสุดท้ายที่ผ่านจะเข้ามาเป้นปืนใหม่ตอนก่อนสั่งล็อตแรกมี 1. m4a1 usa 2. Styler AUG จากออสเตรีย 3. g36 เยยรมัน 4 tar 21 imi อิสราเอลครับ CREDIT http://www.mydrmobile.com/mobileboar...t27605/0/?wap2 http://www.siambbgun...?topic=247121.0 http://www.jokergameth.com/board/showthread.php?t=134156
  23. พูดถึงรถถังไทยสวนใหญ่อยู่มาตั้งแต่ สงครามเวียดนามแล้วนะ เปลียนหน่อยก็ดีเอาให้มันทันยุกสมัยหน่อย จะให้ดีโทรไปเรียกวิศวกร ของ US UK GM(เยอมัน) มาไทยแล้วแนะนำการสร้างรถถังให้แล้วไทยผลิตรถถัง ให้เหมาะสมกับภูมิประเทศบ้านเราไปเลยดีกว่านะ รถถังไทยมันค่อนข้างล่าสมัยไปหน่อย รถถัง USA UK GM พวกยัดระบบ GPS minimap ระบบ ควบคุ้มป้อมปืนและล็อกเป้าให้กระบอกปืนอยู่กับที่เวลาวิ้งโดยปืนล็อกเป้าหมายไปด้วย ระบบเกราะระเบิด - -"
×
×
  • Create New...